สะดุ้งตื่นกลางดึก ปัญหากวนใจที่ต้องหาสาเหตุ

สะดุ้งตื่นกลางดึก ปัญหากวนใจที่ต้องหาสาเหตุ

นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึกทุกวัน เป็นอะไรกันแน่!

อาการตื่นมากลางดึกบ่อย ๆ แบบไม่มีสาเหตุ โดยเวลาที่ตื่นมักเป็นช่วงเวลาเดิม และใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงถึงจะนอนต่อได้ หรือไม่ก็นอนต่อไม่ได้ยันเช้า ทำให้วันต่อมาไม่สดใส เหนื่อยเพลีย ถือเป็นปัญหาการนอนหลับที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

สะดุ้งตื่นกลางดึก ส่งผลกระทบอะไรบ้าง
1. ส่งผลต่อสุขภาพกาย

  • เกิดความอ่อนล้าและขาดพลังงาน: เนื่องจากการนอนหลับไม่สมบูรณ์ ทำให้รู้สึกอ่อนล้า ไม่มีแรง และส่งผลต่อการทำงานในชีวิตประจำวัน
  • ลดภูมิคุ้มกัน: การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น ไข้หวัด และโรคภูมิแพ้
    เพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง: การตื่นกลางดึกบ่อยครั้งและการนอนหลับไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง  และเบาหวาน เนื่องจากการนอนหลับที่ไม่สมบูรณ์ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

2. ส่งผลต่อสุขภาพจิต

  • ความเครียดและอารมณ์ไม่คงที่: การสะดุ้งตื่นกลางดึกส่งผลให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้มีผลต่อสภาพอารมณ์ รู้สึกหงุดหงิด เครียด หรือรู้สึกเศร้า
  • เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า: เนื่องจากการนอนหลับที่มีคุณภาพต่ำส่งผลให้สมองไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่
  • ลดประสิทธิภาพการเรียนรู้และความจำ: การตื่นกลางดึกทำให้การนอนหลับไม่เข้าสู่ระยะลึกที่สำคัญในการฟื้นฟูและจัดระเบียบข้อมูลในสมอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ การจดจำ และการตัดสินใจลดลง

3. ส่งผลต่อสมรรถภาพการทำงาน

  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง: ร่างกายเหนื่อยล้า การคิดวิเคราะห์ลดลง ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในชีวิตประจำวัน
  • เพิ่มความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ: เนื่องจากการรับรู้ลดลง และการประสานงานของร่างกายไม่ดี ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทั้งในชีวิตประจำวันและในการทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องขับขี่ยานพาหนะ

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการสะดุ้งตื่นกลางดึก

  • ปรับสภาพแวดล้อมในการนอน: ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการนอน เช่น ลดแสงและเสียงรบกวน รักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมเพื่อช่วยให้หลับลึกและไม่ตื่นกลางดึก
  • สร้างกิจวัตรก่อนนอนที่ผ่อนคลาย: การทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น การอ่านหนังสือ การนั่งสมาธิ หรือการฟังเพลงที่ผ่อนคลาย จะช่วยลดความเครียดและช่วยให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะพร้อมสำหรับการนอน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก่อนนอน: เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะกระตุ้นระบบประสาททำให้นอนหลับยาก ส่วนแอลกอฮอล์อาจทำให้หลับเร็วขึ้น แต่ทำให้สะดุ้งตื่นกลางดึกได้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่มีคุณภาพ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักในช่วงเวลาใกล้เข้านอน
  • ปรึกษาแพทย์: หากอาการสะดุ้งตื่นกลางดึกเกิดขึ้นบ่อยครั้งและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาและตรวจสอบว่ามีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนหรือไม่ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  คลิก  ร่วมด้วยหรือไม่

หากใครมีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก จนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเรื้อรังเกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ สัญญาณเตือนอาจเกิดจากปัญหาการนอน ที่ส่งผลต่อสุขภาพซ่อนอยู่ หากละเลยอาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพที่รุนแรงขึ้น

อย่ารอให้สายเกินแก้! หากท่านมีปัญหาการนอน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจ Sleep Test

หันมาใส่ใจตัวเอง ด้วยการตรวจสุขภาพการนอน หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพการนอนหลับ
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เพราะการนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ทุกคนมีสุขภาพกายและใจที่ดี
อย่าปล่อยให้ปัญหาการนอนหลับบั่นทอนคุณภาพชีวิต


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคลินิกสุขภาพการนอนหลับ
รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม

02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line