เคสผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ หรือพบความเสี่ยงโรคหัวใจ

เมื่อพบอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าจะมีความเสี่ยงโรคหัวใจ ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน  สิ่งที่ควรทำคือ ควรรีบเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ เพื่อป้องกันภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ศูนย์หัวใจวิชัยเวช รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม จำลองเหตุการณ์ เส้นทางของผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยมีอาการ มาโรงพยาบาล เข้ารับการรักษา จนกลับบ้าน เพื่อชี้ให้เห็นว่าเมื่อพบความผิดปกติเกี่ยวกับโรคหัวใจ ควรต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนเบื้องต้นอย่างไร

อาการเบื้องต้นโรคหัวใจ อาจแสดงออกได้หลายรูปแบบ บางครั้งอาจจะเริ่มจากอาการที่ไม่รุนแรง ทำให้ผู้ป่วยมองข้าม จึงไม่ได้ไปพบแพทย์ และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้อาการแย่ลง และมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต

อาการที่อาจพบได้ และควรไปพบแพทย์ ได้แก่

  • อาการเจ็บแน่นหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • ใจสั่น
  • เหงื่อออกมาโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดร้าวที่กราม แขน ไหล่
  • หรืออาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส่ อาเจียน เวียนศีรษะ วูบ หมดสติ 

หากมีอาการเหล่านี้ พบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองหรือตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ โดยขั้นตอนในการเข้ารับการตรวจคัดกรองและเข้ารับการรักษาที่ศูนย์หัวใจวิชัยเวช มีดังนี้

  • หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น หรือพบความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพ จน
    กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อย่ารอช้า ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจร้ายแรง
  • เมื่อเดินทางมาถึง รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม ผู้เข้ารับบริการสามารถแจ้งความ ต้องการหรืออาการเบื้องต้น กับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ณ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ อาคาร 3 ชั้น 1
  • แสดงบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อทำการเปิดประวัติ
  • เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำถึงขั้นตอนในการเข้ารับบริการ
  • โดยก่อนเข้าพบแพทย์ ผู้เข้ารับบริการจะต้องทำการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดความดันให้เรียบร้อย
  • เมื่อถึงคิวพบแพทย์ผู้เข้ารับบริการ ควรบอกอาการที่เกิดขึ้นให้แพทย์ได้ทราบอย่างละเอียด โดยเฉพาะอมูลสำคัญ เช่น
            *มีอาการอย่างไร ให้อธิบายความรู้สึกที่เป็น
            *เป็นมานานแค่ไหน
            * เป็นบ่อยแค่ไหน
            *ส่วนใหญ่จะมีอาการช่วงไหน หรือมีอาการตลอด
            *ทำอะไรแล้วเป็นมากขึ้น หรือดีขึ้นหรือเปล่า
            *มีอาการอะไรที่เกิดขึ้นพร้อมกันด้วยหรือไม่
            *มีโรคประจำตัวหรือเปล่า
  • และเพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปอย่างถูกต้อง แพทย์อาจจะแนะนำให้มีการตรวจสุขภาพหัวใจเพิ่มเติม เช่น การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการเดิน หรือวิ่งสายพาน (EST) หรือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
  • หากพบความเสี่ยงหรือความผิดปกติเกี่ยวกับโรคหัวใจ แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการวินิจฉัยโรคหัวใจแบบเจาะลึก หรือเข้ารับการรักษาทันที
  • ก่อนเข้ารับการตรวจวินิจฉัย หรือเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะต้องเข้าพักที่หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติดรคหัวใจ หรือ CCU อย่างน้อย 1 คืน
  • สำหรับผู้ที่อาการไม่รุนแรง จะพักที่หอผู้ป่วยอย่างน้อย 1 คืน โดยจะมีแพทย์คอยดูแล ตรวจร่างกายและให้คำแนะนำเบื้องต้น
  • วันถัดไปเจ้าหน้าที่จะนำผู้ป่วยเข้ารับตรวจวินิจฉัย หรือรักษา ณ ศูนย์ปฏิบัติการสวนหัวใจ หรือ CATH LAB ซึ่งเป็นห้องที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างละเอียดและแม่นยำ
  • หลังเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหรือเข้ารับการรักษาเสร็จสิ้น ผู้ป่วยจะต้องเข้าพัก ณ หอผู้ป่วย เพื่อสังเกตอาการหลังการรักษาและเตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้านอย่างน้อย 1 คืน
  • เมื่อแพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปบ้านได้ เจ้าหน้าที่พยาบาลจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหรือเข้ารับการรักษาอย่างละเอียด

 

ทุกขั้นตอนในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ ศูนย์หัวใจวิชัยเวช มุ่งหวังให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและดูแลอย่างดีที่สุด สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ด้วยความมั่นใจ

 

 


ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
เราพร้อมให้การดูแล รักษา ป้องกันครอบคลุมโรคหัวใจทั่วไป
และโรคหัวใจในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line