Cath Lab หรือศูนย์ปฏิบัติการสวนหัวใจ ย่อมาจาก Cardiac Catheterization Laboratory ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและมีความทันสมัยของศูนย์หัวใจวิชัยเวช รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม เป็นศูนย์ปฎิบัติการสำหรับดูแล วิเคราะห์ วินิจฉัย รวมถึงรักษาโรคหัวใจ ที่มีความละเอียด แม่นยำและถี่ถ้วน
Cath Lab ตรวจอะไรได้บ้าง
1. ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจ
- สามารถตรวจดูความผิดปกติและประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน
- ตรวจดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
- ตรวจดูการบีบตัวของหัวใจ
- การวัดความดันในห้องหัวใจตำแหน่งต่าง ๆ
- ตรวจดูความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
หากพบความผิดปกติ ศูนย์ปฎิบัติการสวนหัวใจ หรือ Cath Lab สามารถให้การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจได้ทันที โดยเตียงภายในห้องจะเป็นเตียงไฮบริด ที่สามารถทำการผ่าตัดและสวนหัวใจได้ภายในห้องเดียวกัน โดยจะแบ่งการรักษาออกเป็น
– การฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งการฉีดสีมีทั้งฉีดเพื่อวินิจฉัย หรือที่เรียกว่า CAG ว่าเส้นเลือดหัวใจตีบมากน้อยแค่ไหน หรือตีบไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ โดยระยะเวลาในการฉีดสีเพื่อดูหลอดเลือดหัวใจ ประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง แล้วถึงจะทำการรักษา ในขั้นตอนการรักษาจะเรียกว่า PCI ซึ่งการฉีดสีภายในศูนย์ปฏิบัติการสวนหัวใจ หรือ Cath Lab สามารถทำได้ทั้ง CAG หรือวินิจฉัยอย่างเดียว หรือ CAG+PCI คือวินิจฉัยและรักษาในครั้งเดียวกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
- หลอดเลือดหัวใจตีบ รู้ได้ด้วยการฉีดสีสวนหัวใจ
- ฉีดสีสวนหัวใจต้องเตรียมตัวอย่างไร
- การทำบอลลูน และใส่ขดลวด เป็นวิธีการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง โดยการใส่ขดลวดค้ำยันเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูน ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจน้อยลง
- การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร เป็นการฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคเข้าไปบริเวณผนังหน้าอกใต้ผิวหนัง เพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ช่วยแก้ไขโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้าหรือไม่สม่ำเสมอ
- การฝังเครื่องเฝ้าดูและกระตุ้นหัวใจแบบอัตโนมัติ หรือเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ (Automated Implantable Cardioverter Defibrillators ; AICD) เป็นอุปกรณ์ที่ฝังไว้ในร่างกายเพื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจตลอดเวลา และปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาในทันทีที่พบว่าหัวใจเต้นผิดเร็วผิดจังหวะในระดับที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ยังสามารถใช้กระตุ้นหัวใจในกรณีพบหัวใจเต้นช้ากว่าปกติได้ด้วย
- การใส่เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจ หรือการใส่บอลลูนปั๊มหัวใจ เป็นเครื่องผยุงการทำงานของหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยการใส่บอลลูนในหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อช่วยลดการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายที่มีปัญหาการบีบตัว
- การจี้ไฟฟ้าหัวใจ เป็นการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา
2. ตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะหลอดเลือดสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคสมองขาดเลือด โดยจะทำการตรวจรักษาด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง เพื่อดูความผิดปกติตามจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำกว่าการตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอกซ์เรย์
เมื่อไหร่ถึงจะทำการสวนหัวใจ
สำหรับคนไข้ที่แพทย์จะพิจารณาให้สวนหัวใจ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 คนไข้ที่มีอาการแน่นหน้าอกฉับพลัน หรือสงสัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน โดยจะทำการวินิจฉัยจากอาการของคนไข้ หากมีอาการภายใน 1 เดือน ร่วมกับมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ อัลตราซาวด์หัวใจแล้วสงสัยว่ามีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบฉับพลัน ต้องทำการสวนหัวใจภายใน 24-48 ชั่วโมง หรือเร็วกว่าขึ้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
- กลุ่มที่ 2 คนไข้ที่มีประวัติแน่นหน้าอกมานาน หรือมีอาการเหนื่อยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการใจสั่น หน้ามืด เป็นลม ผู้ป่วยกลุ่มนี้แพทย์อาจจะพิจารณาวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยการวิ่งสายพาน มีเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ก่อน หรืออัลตราซาวด์หัวใจ แล้วพบความผิดปกติ แพทย์ก็จะนัดให้เข้ารับการสวนหลอดเลือดหัวใจต่อไป
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
เราพร้อมให้การดูแล รักษา ป้องกันครอบคลุมโรคหัวใจทั่วไป
และโรคหัวใจในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา