ตรวจให้รู้ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke เป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสี่ยงก็ยิ่งสูง แต่รู้ไหมว่า โรคนี้ป้องกันได้! ด้วยการตรวจสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Stroke คืออะไร? ทำไมถึงอันตราย?

Stroke คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดจาก “เส้นเลือดสมองตีบ” หรือ “เส้นเลือดสมองแตก” ทำให้เซลล์สมอง เสียหาย และตาย ส่งผลให้เกิดอาการ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ

อาการเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะสมอง เป็นอวัยวะที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อสมองส่วนใดส่วนหนึ่ง ได้รับความเสียหาย ก็จะส่งผลต่อ การทำงานของร่างกายส่วนนั้นๆ ความรุนแรงของ Stroke ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่ง และขนาด ของสมองที่ได้รับผลกระทบ บางรายอาจ เป็นอัมพาต ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บางรายอาจ เสียชีวิตได้

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อ Stroke?

แม้ Stroke จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง ที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรค ได้แก่

  • อายุ: ผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงกว่า
  • พันธุกรรม: ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็น Stroke มีโอกาสเป็นโรคนี้ มากกว่าคนทั่วไป

โรคประจำตัว: ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ มีความเสี่ยงสูง

  • พฤติกรรม: ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ มีภาวะอ้วน หรือขาดการออกกำลังกาย มีโอกาสเป็น Stroke มากขึ้น

สัญญาณเตือน Stroke สังเกตได้อย่างไร?

จำง่ายๆ ด้วยหลัก F.A.S.T.

  • Face (หน้า): หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว ยิ้มไม่เท่ากัน
  • Arm (แขน): แขนขาอ่อนแรง ยกแขนไม่ขึ้น หรือเดินเซ
  • Speech (พูด): พูดไม่ชัด พูดลำบาก หรือฟังไม่เข้าใจ
  • Time (เวลา): รีบโทร 1669 หรือนำส่งโรงพยาบาลทันที เมื่อมีอาการ ซึ่งจากที่มีอาการ ต้องเข้ารับหารรักษาภายใน 3 ชั่วโมง

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง สำคัญอย่างไร?

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการตรวจตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยมีจุดประสงค์ ดังนี้

  • ยืนยันการวินิจฉัย: แยก Stroke ออกจากโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน เช่น เนื้องอกในสมอง
  • ระบุชนิดของ Stroke: แยกชนิด Stroke ว่ามาจากเส้นเลือดสมองตีบ หรือ เส้นเลือดสมองแตก ซึ่งมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน
  • ประเมินตำแหน่ง และขนาด ของสมองที่ได้รับผลกระทบ: ช่วยให้แพทย์ประเมินความรุนแรง และวางแผนการรักษา ได้อย่างเหมาะสม
  • หาสาเหตุของ Stroke: เช่น หลอดเลือดตีบ ลิ่มเลือด ความผิดปกติของหัวใจ เพื่อการรักษา และป้องกัน Stroke ในระยะยาว

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง มีวิธีใดบ้าง?

1. การซักประวัติ และตรวจร่างกาย

แพทย์จะสอบถาม ประวัติอาการ ปัจจัยเสี่ยง โรคประจำตัว ประวัติครอบครัว รวมถึง ตรวจร่างกาย เพื่อประเมินสัญญาณชีพ ระบบประสาท และความผิดปกติต่างๆ

2. การตรวจเลือด

  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อดูความเสี่ยง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยง ของ Stroke
  • ตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อดูความเสี่ยงโรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยง ของ Stroke
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด: เพื่อดูความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด

3. การตรวจภาพวินิจฉัย

  • CT Scan สมอง: เป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้เห็นภาพ โครงสร้าง ของสมอง ตรวจหาลิ่มเลือด หรือ เลือดออกในสมอง
  • MRI สมอง: เป็นการตรวจ โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สร้างภาพของสมอง ที่มีความละเอียดสูงช่วยให้เห็นความผิดปกติ ของเนื้อเยื่อสมอง
  • MRA (Magnetic Resonance Angiography): เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สร้างภาพของหลอดเลือดสมอง เพื่อดู การตีบ หรือ การอุดตัน ของหลอดเลือด
  • Carotid Ultrasound: เป็นการตรวจหลอดเลือดคอด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูการตีบ หรือ การอุดตันของหลอดเลือด ที่ไปเลี้ยงสมอง

4. การตรวจอื่นๆ

  • EKG (Electrocardiogram)  เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจ และความผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุ ของ Stroke
  • Echocardiogram: เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูโครงสร้าง และ การทำงานของหัวใจ รวมถึงตรวจหาลิ่มเลือดในหัวใจ ที่อาจหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง

ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกล Stroke

Stroke เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ “ป้องกันได้”! ด้วยการดูแลสุขภาพ ตรวจสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสุขภาพที่ดี และชีวิตที่ยืนยาว

 

ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
02-441-6999

หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line