วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เป็นวัคซีนชนิด mRNA เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เซลล์ในร่างกายผลิตโปรตีนที่เป็นปุ่มหนามของไวรัส ที่เรียกว่า Spike Protein ขึ้นมา ซึ่งโปรตีนตัวนี้จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ของร่างกายเพื่อต่อต้านกับเชื้อโรค เพราะฉะนั้นร่างกายรับเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีปุ่มหนามเหมือน Spike Protein ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเชื้อโควิด-19 ที่เข้าสู่ร่างกายของเรา
ประสิทธิภาพของไฟเซอร์
วัคซีนไฟเซอร์ได้รับการรับรองจาก WHO ว่าสามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 100% ,ป้องกันการติดเชื้อมีอาการที่ 94% ป้องกันการติดโรค 96.5% และป้องกันการเสียชีวิตได้ถึง 98-100%
วัคซีนไฟเซอร์ เหมาะกับใครบ้าง
- เด็กอายุ 12-18 ปี เนื่องจากองค์การอนามัยโลกให้การยอมรับถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 12-18 ปี (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 64)
- 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
ผลข้างเคียงทั่วไปของวัคซีนโควิดไฟเซอร์
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย และไม่รุนแรงของวัคซีนไฟเซอร์ หรืออาจเกิดขึ้นเฉพาะจุดที่ฉีด มีดังนี้
- ปวดบวม หรือมีรอยแดงบริเวณที่ฉีด สามารถประคบเย็นได้
- มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ทานยาแก้ไข ดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ปวดศีรษะ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ปวดข้อต่อ
- ท้องเสีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
โดยผลข้างเคียงเหล่านี้อาจเริ่มใน 1-2 วันหลังจากรับวัคซีน หรือ 1-2 สัปดาห์หลังฉีด หรือบางรายพบผลข้างเคียงเกิดขึ้นหลังจากฉีดเข็มที่ 2
ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก อาจมีดังนี้
- เป็นลม
- การมองเห็นผิดปกติ
- รู้สึกชาตามร่างกาย
- หากมีอาการดังที่กล่าวมานี้หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที นอกจากนี้การหาที่นั่งพัก หรือนอนราบอาจช่วยให้อาการบรรเทาลงได้
ผลข้างเคียงในกลุ่มนี้ ถือเป็นผลข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากวัคซีนประเภท mRNA ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา จากสถิติพบผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีน mRNA เพียง 10-30 รายต่อ 1 ล้านโดส หรือจากการฉีดวัคซีน mRNA ทั้งหมด 300 ล้านโดส ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ หรือ CDC รายงานว่า มีเพียง 300 รายเท่านั้นที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยแบบแน่นอน ซึ่งถือเป็นสถิติที่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะพบหลังจากฉีดวัคซีนโดสที่ 2 ภายใน 4 วัน -1 สัปดาห์ และมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี และความเสี่ยงจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น
ซึ่งยังไม่มีหลักฐานแสดงแน่ใจถึงสาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกิดการตอบสนองบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ
อาการแสดงที่สำคัญที่อาจเกิดขึ้น
- เจ็บแน่นหน้าอก อาการจะรู้สึกเจ็บแปลบ ๆ หรือเจ็บจี๊ด ๆ บริเวณกลางหน้าอก บางรายอาจจะมีอาการร้าวไปด้านหลัง หรือมีอาการมากขึ้นเวลานอน
- รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ
- มีอาการเจ็บเวลาหายใจ
- ใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
- เป็นลม
หากพบอาการผิดปกติในลักษณะดังกล่าวหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย โดยแพทย์จะทำการตรวจ
- คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- การตรวจระดับเอนไซม์การทำงานของหัวใจ
- ตรวจ Echocardiogram หรือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
- การตรวจหัวใจด้วยเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
ซึ่งผลข้างเคียงที่อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สามารถรักษาให้หายได้
อาการแพ้วัคซีนไฟเซอร์ ถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือแพทย์ทันที อาจมีดังนี้
- มีผื่นขึ้นตามตัว
- มีอาการคัน บวม ตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะใบหน้า ลิ้น และลำคอ
- เวียนศีรษะมาก
- หายใจลำบาก
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจไม่ใช่อาการทั้งหมดที่มีโอกาสเกิดได้ หากคุณมีอาการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากด้านบน ควรติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ทันที
ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา