เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิดจากอะไร?

โรคเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื้อหุ้มหัวใจ ซึ่งเยื้อหุ้มหัวใจจะมีลักษณะบางๆ ห่อหุ้มหัวใจ แบ่งเป็นสองชั้น ชั้นในจะติดกับหัวใจโดยตรง ส่วนชั้นนอกจะติดกับปอดและอวัยวะอื่นๆ โดยระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจสองชั้นนี้จะมีน้ำหล่อลื่นที่ทำหน้าที่ป้องกันหัวใจของเราไม่ให้เสียดสีหรือกระทบกระเทือนกับอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กับหัวใจในขณะที่หัวใจบีบตัวเข้าออก

เมื่อเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จะทำให้เกิดน้ำหนอง หรือเลือดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ส่งผลให้หัวใจขยายตัวและบีบตัวไม่ดี สามารถเกิดได้ทั้งผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิง แต่ส่วนมากมักเกิดในผู้ป่วยเพศชายช่วงอายุประมาณ 20-50 ปี และ 15-30% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบแล้ว อาจมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้งในหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนต่อมา

โรคเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งสามารถเกิดได้ 3 ลักษณะ

  1. เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (Acute pericarditis) คือการอักเสบที่เกิดกับถุงหุ้มหัวใจอย่างเฉียบพลัน มีอาการรุนแรง โดยทั่วไปมักรักษาให้หายภายใน 3 เดือน
  2. เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบกลับเป็นซ้ำ (Relapsing pericarditis) ลักษณะคือ
        • เพื่อรักษาอาการเฉียบพลันจนอาการดีขึ้น แล้วมีอาการอักเสบซ้ำอีกรอบ
        • โรคย้อนเป็นซ้ำอีกในภายหลังรักษาหาย และหยุดยาต่าง ๆ แล้วนานเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป
  3. เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรัง (Chronic pericarditis) คือการอักเสบนานเกิน 3 เดือนขึ้นไป

อาการของโรคเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ

  • เจ็บแปลบในช่องอกช่วงบริเวณใต้ต่อกระดูกอกร่วมกับปวดไหล่ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง อาการจะดีขึ้นเมื่อนั่งเอนตัวมาข้างหน้า แต่จะแย่ลงเมื่อนอนราบ และเจ็บแปลบเมื่อหายใจลึก ๆ หรือหายใจเข้าแรง ๆ
  • มีไข้ อ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ เบื่ออาหาร
  • ใจสั่น
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หายใจลำบาก ไอแห้ง ๆ
  • เสียงการเดินหัวใจผิดปกติ
  • หากมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหน้าอกมากถึงระดับเหมือนโดนมีดแทง และเป็นอาการปวดที่คล้ายกับอาการปวดจากภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) หรือหัวใจล้มเหลว ภาวะนี้ถือว่ามีความอันตรายอย่างสูงมาก และมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ อาจจะเกิดจากโรคอื่น ๆ ที่เป็น

ยังไม่มีการค้นพบสาเหตุที่แน่ชัดว่า ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบนั้นเกิดจากอะไร แต่ก็ยังมีโรค เชื้อไวรัส และภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ เช่น

  1. โรคมะเร็ง
  2. โรคออโตอินมูน
  3. การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย
  4. การใช้ยาบางประเภท
  5. ภาวะไตวาย
  6. การผ่าตัดหัวใจ
  7. วัณโรค
  8. ขาดไทรอยด์ ฮอร์โมน
  9. กล้ามเนื้อหัวใจตาย

การวินิจฉัยโรคเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ

ขั้นตอนแรก: แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติเกี่ยวกับอาการทั่วไปที่เกิดขึ้น รวมถึงอาการซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจ ภาวะหัวใจวาย การได้รับบาดเจ็บหรือเคยประสบอุบัติเหตุ และอาการป่วยอื่นๆ

ขั้นตอนที่ 2: แพทย์จะตรวจหาสัญญาณของของเหลวส่วนเกินในทรวงอก และการเสียดสีของถุงเยื่อบุหุ้มหัวใจ ซึ่งโดยปกติแล้วจะตรวจโดยการฟังเสียงโดยใช้หูฟัง (Stethoscope) ในขณะที่ผู้ป่วยเอนตัวไปข้างหน้า และหายใจเข้าออก ซึ่งในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บรุนแรงมากๆ แพทย์อาจได้ยินสากๆ เกิดขึ้นในปอดของผู้ป่วย หรือได้ยินเสียงของเหลวอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างเยื่อบุหัวใจและหัวใจ นอกจากนี้ แพทย์อาจพบสัญญาณของเหลวในพื้นที่รอบๆ ปอดของผู้ป่วยด้วย และหากผลการวินิจฉัยยังไม่ชัดเจน แพทย์อาจมีการสั่งตรวจวินิจฉัยด้วยภาพและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ได้แก่

              • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Elektrokardiogram หรือ Electrocardiogram EKG หรือ ECG)
              • เอกซเรย์ทรวงอก(Chest X-ray: CXR) เพื่อแสดงให้เห็นว่าหัวใจมีการขยายใหญ่ขึ้น หรือมีของเหลวรอบนอกมากเกินไปหรือไม่
              • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan (Computerised Tomography)
              • การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI Scan (Magnetic Resonance Imaging)
              • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiography)
              • ตรวจเลือด เพื่อหาความเสี่ยงของภาวะหัวใจวาย ประเมินความสามารถในการทำงานของหัวใจ และสาเหตุการอักเสบของถุงหุ้มหัวใจ

การรักษา

  • การรักษาโดยการใช้ยา
  • การรักษาโดยการผ่าตัดเยื้อหุ้มหัวใจ
  • การรักษาโดยการเจาะถุงหุ้มหัวใจ

การป้องกัน

การป้องกันโรคเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ คือการป้องกันสาเหตุที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อ ซึ่งวิธีป้องกันการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ คือ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน

การดูแลตนเอง

  • ปฎิบัติตามแพทย์ และพยาบาลแนะนำ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • หลักเลี่ยงการออกกำลังกายที่เกินกำลัง
  • ควบคุมโรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุให้ดี
  • รีบพบแพทย์ หากมีความผิดปกติ หรือกังวล

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน

  • ภาวะเกิดน้ำในเยื้อหุ้มหัวใจ
  • ภาวะเกิดผังผืดในเยื้อหุ้มหัวใจ

ทั้ง 2 ภาวะจะก่อให้เกิดการบีบรัดของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจทำงานไม่ได้ ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้

 

ฉุกเฉินโรคหัวใจ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

 

Line