กระดูกพรุน ภัยเงียบที่ค่อยๆ กัดกร่อนความแข็งแรงของกระดูก ทำให้กระดูกบาง เปราะ และแตกหักง่าย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และอาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพได้ แต่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ เพราะกระดูกพรุนสามารถป้องกันและรักษาได้
บทความนี้จะพาไปรู้จักกับ “ภาวะกระดูกพรุน” อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ และวิธีการรักษากระดูกพรุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณมีกระดูกที่แข็งแรง และใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ
ภาวะกระดูกพรุน คืออะไร?
ภาวะกระดูกพรุน เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง โครงสร้างกระดูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้กระดูกอ่อนแอ เปราะบาง แตกหักง่าย โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง สะโพก และ ข้อมือ
อาการของภาวะกระดูกพรุน
- มักไม่มีอาการในระยะแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนเองเป็นภาวะกระดูกพรุน จนกระทั่งเกิดกระดูกหัก!
- ปวดหลังเรื้อรัง อาจปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว ไอ หรือ จาม
- หลังค่อม กระดูกสันหลังยุบตัว ทำให้หลังค่อม ตัวเตี้ยลง
- กระดูกหักง่าย แม้ได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย เช่น หกล้ม ยกของหนัก
ใครบ้าง… เสี่ยงเป็นภาวะกระดูกพรุน?
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นภาวะกระดูกพรุน
- ผู้ที่มีรูปร่างผอมบาง
- ผู้ที่ขาดวิตามินดี และ แคลเซียม
- ผู้ที่สูบบุหรี่ และ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้ที่ใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาต้านการชัก
รักษากระดูกพรุนอย่างไรให้ได้ผล?
การรักษากระดูกพรุน มี 3 แนวทางหลัก ดังนี้
1. ปรับพฤติกรรม เสริมสร้างกระดูก
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง: แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก พบมากในนม โยเกิร์ต ชีส ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว และ เต้าหู้
- เพิ่มวิตามินดี: วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เอง จากการสัมผัสแสงแดด หรือ รับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น ปลาทะเล ไข่แดง และ เห็ด
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่ง เต้น ช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูก และ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยพยุง และ ป้องกันการหกล้ม
- งดสูบบุหรี่ และ จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: บุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้กระดูกพรุน
2. การใช้ยา
แพทย์อาจพิจารณาให้ยา โดยแพทย์ผู้รักษาจะประเมิน อธิบายและตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วย และ/หรือ ญาติ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย
การใช้ยาเพื่อรักษากระดูกพรุนเพื่อ
- เพิ่มมวลกระดูก
- ลดการสลายตัวของกระดูก: เช่น ยาในกลุ่มฮอร์โมน
- กระตุ้นการสร้างกระดูก
3. การป้องกันการหกล้ม
- จัดบ้านให้ปลอดภัย: กำจัดสิ่งกีดขวาง ติดตั้งราวจับ ในห้องน้ำ และ บันได
- สวมใส่รองเท้า: ที่กระชับ พอดี และ มีพื้นกันลื่น
- ระมัดระวัง: ขณะเดิน หรือ เคลื่อนไหว
ประสิทธิภาพของการรักษา
การรักษากระดูกพรุน จะได้ผลดี เมื่อ
- เริ่มต้นรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ: ก่อนที่กระดูกจะบาง และ เปราะมาก
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์: อย่างเคร่งครัด
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม: ดูแลตัวเอง อย่างสม่ำเสมอ
กระดูกพรุน… ป้องกันได้ รักษาได้
อย่าปล่อยให้ “กระดูกพรุน” มาทำลายคุณภาพชีวิต! ใส่ใจดูแลสุขภาพ ตั้งแต่วันนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- จะรู้ได้อย่างไร ว่ากระดูกพรุน
- อย่ารอให้กระดูกหัก ฉีดยาป้องกันกระดูกพรุนตั้งแต่วันนี้
- การฉีดยาป้องกันภาวะกระดูกพรุน I คำถามที่พบบ่อยและข้อมูลที่ควรรู้
เพราะเรื่องกระดูกและข้อ รอไม่ได้
ปล่อยไว้เรื้อรัง อาจรักษายาก
ติดต่อศูนย์กระดูกและข้อ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา