รวมข้อมูลตรวจสุขภาพแต่ละช่วงวัย ต้องตรวจอะไร เตรียมตัวอย่างไร

การตรวจสุขภาพแต่ละช่วงวัย ถือเป็นเรื่องสำคัญ ในการตรวจเช็คความผิดปกติของร่างกายในทุกช่วงวัย เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วย หรือภาวะผิดปกติก่อนที่จะเกิดอาการป่วย บทความนี้ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขมรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพว่ามีความสำคัญอย่างไร และรายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมของกลุ่มคนแต่ละช่วงวัยมีอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจในกรณีที่ผู้เข้ารับบริการยังไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ เพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น และค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดโรคในอนาคต ซึ่งทุกช่วงวัยจำเป็นต้องได้รับการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไป หลังจากการตรวจสุขภาพแล้ว ผู้เข้ารับการตรวจ จะได้ทราบข้อมูลดังนี้

  • จะได้รู้สภาวะสุขภาพของตัวเอง
  • หากพบความผิดปกติ จะได้รักษาได้ทันท่วงที
  • รู้แนวทางและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเหมาะสม

 

ก่อนตรวจสุขภาพต้องรู้อะไรบ้าง

  • การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีหลายโรคที่เป็นภัยเงียบ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สามารถรักษาได้ และมีโอกาสหายขาดสูง
  • ควรตรวจสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเรา ทั้งเรื่องของอายุ เพศ สุขภาพร่างกาย รวมถึงประวัติสุขภาพของครอบครัว
  • ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพเด็ก เนื่องจากเด็กในแต่ละช่วงวัยจะมีความแข็งแรง ความสมบูรณ์ และมีพัฒนาการของร่างกายที่แตกต่างกัน สามารถช่วยให้เราประเมินสุขภาพของเด็กตั้งแต่เริ่มต้น ป้องกันความเสี่ยงของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ประเมินพัฒนาการด้านพฤติกรรมและอารมณ์ รวมถึงติดตามเฝ้าระวังพัฒนาการของเด็กอย่างเป็นระยะ
  • ต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลประวัติ ทั้งประวัติการใช้ชีวิตประจำวัน ประวัติการเจ็บป่วยที่ผ่านมา ประวัติโรคที่เกิดในครอบครัว โรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • โดยเราทุกคนสามารถตรวจสุขภาพขั้นต้นได้ด้วยตัวเอง ด้วยการสังเกตพฤติกรรม น้ำหนัก หรืออาการผิดปกติทางร่างกาย ต่าง ๆ

 

 

การตรวจสุขภาพตามช่วงอายุ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มเด็กและวัยรุ่น อายุ 0-18 ปี
  2. กลุ่มวัยทำงาน อายุ 19-60 ปี
  3. กลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป

1. การตรวจสุขภาพสำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุ 0-18 ปี ต้องตรวจอะไรบ้าง

  • ตรวจเช็คสุขภาพทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ถ้าอยู่ในช่วงวัยรุ่นจะมีการตรวจเช็ค BMI เพิ่มเติม
  • การตรวจคัดกรองทางห้องปฎิบัติการ เช่น การตรวจคัดกรองการได้ยินด้วยเครื่องมือ OAE ภายใน 6 เดือนหลังคลอด ,ตรวจเลือดเพื่อค้นหาภาวะซีดในเด็กแรกเกิด และให้การดูแลรักษาภาวะซีด เพื่อป้องกันไม่ให้ IQ ต่ำ
  • ตรวจคัดกรองพัฒนาการ ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่, การใช้ภาษาและการสื่อสาร ,การช่วยเหลือตัวเองและการเข้าสังคม รวมถึงเรื่องของสติปัญญา และจริยธรรม
  • ส่งเสริมสุขภาพด้านอื่น ๆ เพื่อการเติบโตที่เหมาะสม เช่น การดูแลช่องปากและฟัน ,การมีโภชนาการที่ดี และการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • ค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงตามวัย เช่น ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ ปัญหาการเรียน ติดเกม เครียด ปัญหาครอบครัวที่ส่งผลต่อสุขภาพ เรื่องเพศ การใช้ยาหรือสารเสพติด
  • การได้รับวัคซีนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

 

0-18 ปี ควรตรวจอะไรบ้าง

 

2. การตรวจสุขภาพสำหรับคนวัยทำงานอายุ 19-60 ปี ต้องตรวจอะไรบ้าง

  • ตรวจร่างกายและสุขภาพทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI และวัดความดันโลหิต
  • ประเมินสภาวะสุขภาพที่จำเป็นเช่น การกินอาหาร การออกกำลังกาย การประกอบอาชีพ  การสูบบุหรี่/ดื่มสุรา/ ใช้สารเสพติดใน 3เดือนที่ผ่านมา การสัมผัสวัณโรค และบุคคลในครอบครัวที่ป่วยเป็นวัณโรคพฤติกรรมทางเพศ/ การป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์/ การคุมกำเนิด
  • ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนอย่างถูกต้อง
  • ประวัติการประกอบอาชีพ เพื่อหาความเสี่ยง และโอกาสการสัมผัสสารเสี่ยงต่าง ๆ จากการทำงาน
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งที่จำเป็นประวัติ และตรวจสอบการป่วยเป็นโรคมะเร็งในครอบครัว เพื่อประเมินความสี่ยงทางพันธุกรรม

มะเร็งเต้านม
– อายุ 30-39 ปี. ควรตรวจมะเร็งเต้านมทุก 3 ปี
– อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งเต้านมทุกปี
– ควรคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

มะเร็งปากมดลูก
– อายุ 30-65 ปี ควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 3 ปี

มะเร็งปากและช่องปาก
– อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรคัดกรองมะเร็งปากและมะเร็งช่องปาก ปีละ 1 ครั้ง

มะเร็งลำไส้ใหญ่
– อายุ 50 ปี ขั้นไป ควรตรวจอุจจาระเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกปี

มะเร็งตับ
– ตรวจ Anti HCV

  • ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
  • ตรวจตา อายุระหว่าง 40-60 ปี ควรตรวจวัดสายตา และขยายม่านตาปีละ 1 ครั้ง
  • ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • ประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจเบาหวานทุก 3 ปี เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
  • ประเมินภาวะซึมเศร้า
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

– ตรวจไขมันในเลือด อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจไขมันในเลือดทุก 5 ปี เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง
– ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count, CBC)

– ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count, CBC)

  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (fasting plasma glucose) ตั้งแต่อายุ35 ปีโดยตรวจทุก 3 ปี
  •  การได้รับวัคซีนที่จำเป็น

19-60 ปี ควรตรวจอะไรบ้าง

 

3. การตรวจสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ต้องตรวจอะไรบ้าง

  • ตรวจสุขภาพทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต วัดความยาวแขน ดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) เนื่องจากผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง ของร่างกาย เช่น หลังโกง กระดูกหัก ทำให้ความสูงของผู้สูงอายุไม่คงที่ เมื่อมีอายุเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นควรวัดความยาวส่วนแขนร่วมด้วย
  • ประเมินสภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ

– ภาวะโภชนาการ เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการ และได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม
– ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด เพื่อป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต
– ประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนเพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหัก
– ประเมินสมรรถภาพสมอง ป้องกันภาวะสมองเสื่อม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่เหมาะสม
– ประเมินภาวะซึมเศร้า เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสม
– ประเมินการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ได้ตามอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพลดลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
– ประเมินปัญหาจากแอลกอฮอล์/ การติดสารนิโคตินบุหรี่/ การใช้สารเสพติด

  • ตรวจสายตา

– อายุ 60-64 ปี ควรตรวจสายตาทุก 2-4 ปี
– อายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ไม่มี่ความเสี่ยง ควรตรวจสายตาทุก 1-2 ปี

  • ตรวจช่องปาก ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ คือ การสูญเสียฟัน นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังพบปัญหาการกลืน การสำลักหรือมีโอกาสเกิดความเสี่ยง มะเร็งช่องปาก ซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบรุนแรงกับสุขภาพ และคุณภาพชีวิต ควรเข้ารีบการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น

– ตรวจปัสสาวะ ควรตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
– ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือตรวจภาวะซีด ควรตรวจทุกปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป
– ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมง โดยแนะนำให้ตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
– ตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
– ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ควรตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติของไต ป้องกันความเสี่ยงโรคไต

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งที่จำเป็น

– มะเร็งเต้านม แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ60 ปี ขึ้นไป ที่ไม่มีอาการปีละ 1 ครั้ง
– มะเร็งปากมดลูก ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear ทุก 3 ปี จถึงอายุ65 ปี หากผลตรวจปกติติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปีสามารถหยุดตรวจได้
– มะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรตรวจอุจจาระเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกปี

 

60 ปีขึ้น ควรตรวจอะไร

ตรวจสุขภาพให้ได้ผลดีต้องตรวจให้เหมาะสม

ตรวจน้อยไปก็ไม่ดี

  • พบโรคช้า รักษาไม่ทัน
  • สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น
  • เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย เสียโอกาสในการรักษา ฟื้นฟูและไม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างเต็มที่

ตรวจมากไปก็ไม่ดี

  • ส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
  • สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการตรวจรายการที่ไม่จำเป็น
  • เสียเวลาไม่เกิดประโยชน์

การตรวจบางอย่างขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์ หรือควรตรวจเมื่อมีอาการ

  • เอกซเรย์ปอด ไม่สามารถค้นหามะเร็งปอดและวัณโรคในระยะเริ่มต้นได้ เพราะฉะนั้นยังไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ปอดในการตรวจสุขภาพทั่วไป
  • การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์จะพิจารณาตรวจจากคนที่ปัสสาวะไม่คล่อง จากภาวะต่อมลูกหมากโต หากไม่มีอาการดังกล่าวก็ไม่จำเป็น
  • ตรวจ BUN ในเลือด ไม่มีประโยชน์ในการตรวจคัดกรองภาวะไตเสื่อมจากโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เพราะการตรวจคัดกรองไตเสื่อมจะใช้การตรวจวัดคริอะตินีน
  • ตรวจคัดกรองความผิดปกติของไต ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจสำหรับคนที่ไม่มีความเสี่ยง
  • การตรวจกรดยูริคในเลือด ควรตรวจในคนที่มีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ บวม แดง

ตรวจสุขภาพให้ได้ผลดี

ผู้ที่สนใจและต้องการตรวจสุขภาพ สามารถเข้ารับบริการได้ที่ ศูนย์รักษ์สุขภาพได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.

ต้องการตรวจสุขภาพ
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
 02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line