โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตฉับพลันของคนไทย และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุมักมาจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน การตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ มักมาจากคราบตะกรันของไขมันที่สะสมอยู่ในหลอดเลือด หรือเกิดจากการสะสมของแคลเซียม หรือที่เรียกกันแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ “คราบหินปูน”
แคลเซียม หรือหินปูนมาจากไหน
หินปูน ก็คือแคลเซียมในร่างกายของเราที่สะสมทับถมกันจนกลายเป็นก้อนแข็งๆ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการเสื่อมโดยธรรมชาติของแคลเซียม หรืออาจเกิดจากการอักเสบบริเวณจุดใดจุดหนึ่ง กลไกของร่างกายจึงสร้างแคลเซียมมาป้องกันบาดแผลบริเวณที่อักเสบไว้ หินปูนยังสามารถแฝงตัวมากับคราบไขมันมาเกาะติดบริเวณหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตันนั่นเอง โดยมีการศึกษาพบว่าคราบแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ แม้เพียงเล็กน้อยก็เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และนำไปสู่ภาวะหัวใจวายฉับพลันได้ในอนาคต
ซึ่งเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เจ้าหินปูนเหล่านี้จะเริ่มก่อตัวขึ้นภายในหลอดเลือดของเราเมื่อใด กว่าจะรู้ส่วนใหญ่ก็เมื่อปรากฏอาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่ชัดเจน หรือหากโชคร้ายกว่านั้นก็อาจพบหลังประสบภาวะหัวใจวายไปแล้ว การตรวจคราบหินปูนที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เรารู้ทัน และเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
ใครบ้างที่ควรตรวจคราบหินปูน หรือแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- ผู้ที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางของการเกิดโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง อ้วน
- ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจ
- ผู้ที่สูบบุหรี่
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือด มีประโยชน์อย่างไร
การตรวจพบหินปูนที่หลอดเลือดหัวใจ จะทำให้เราทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคตว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับความเสี่ยงพื้นฐานของแต่ละคน เช่น อายุ โรคร่วมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เช่น ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หรือประวัติสูบบุหรี่ ทำให้สามารถมีข้อมูลประกอบในการควบคุม ป้องกัน และรักษา และลดโอกาศการเกิดโรคหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในอนาคตได้
จุดเด่นของตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ที่ศูนย์หัวใจวิชัยเวช รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
- ใช้เวลาไม่นาน เพียง 10-20 นาที
- ตรวจด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ความเร็วสูง 128 Slice ซึ่งมีความทันสมัย ภาพที่ได้จากการตรวจจะคมชัด เนื่องจากเครื่องมือที่มีความเร็วในการจับภาพสูงมาก สามารถจับภาพขณะที่หัวใจเต้นได้ดี และสามารถบอกถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ แม้จะมีปริมาณน้อย จึงเป็นการตรวจที่หาภาวะความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเริ่มต้นในคนปกติได้เป็นอย่างดี
- เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
- ไม่ต้องฉีดสี สวนหัวใจ
- ไม่ต้องฉีดยาหรือสารทึบรังสี
- ไม่ต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษ
- เป็นการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ตรวจได้รับรังสีในปริมาณน้อยมาก
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีคราบหินปูนที่หลอดเลือดหัวใจ
ผลการตรวจไม่ควรเกิน 200-400 ถ้าเกิน 400 จะยิ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันสูงมาก
คราบหินปูนเพียงเล็กน้อยเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจวายเพิ่มขึ้น 10%
เพราะฉะนั้นทุกคนควรดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ลดภาวะที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น การงดบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดอาหารไขมัน พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด โดยเฉพาะถ้าเป็นความดันเลือดสูงและเบาหวานก็จะได้ปรับพฤติกรรมและดูแลตัวเองมากขึ้น โดยควบคุมความดันโลหิตให้ไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท และไขมัน LDL ต่ำกว่า 130 mg% นอกจากนี้ควรตรวจสุขภาพทั่วไป และตรวจสุขภาพหัวใจอย่างต่อเนื่อง
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
โรคหัวใจตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง
ฉุกเฉินโรคหัวใจ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา