โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (Delta) มีความสามารถจับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น ติดง่ายขึ้น แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) 1.4 เท่า หรือ 60% และแรงกว่าโควิด-ลงปอดได้เร็วขึ้น และยังอยู่ในร่างกายเราได้นานขึ้น อีกทั้งยังมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลตา พลัส (Delta Plus) ที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดหรือคล้ายอาการของโควิด-19 สายพันธุ์ทั่วไป โควิดสายพันธุ์เดลต้ายังเป็นที่จับตามองต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษในประเทศไทยเนื่องจากมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
สรุปการระบาดของสายพันธุ์เดลตา
- พบการระบาดครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย
- WHO เปิดเผยว่าโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา คือ ไวรัสกลายพันธุ์ที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก
- ปัจจุบันพบการระบาดมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
ความน่ากลัวของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อสายพันธุ์เดลตาสามารถแพร่กระจายได้ง่าย ในช่วงเวลาสั้น จากข้อมูลพบว่าใช้เวลาแค่ 5-10 วินาที หากอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือพบเจอผู้ติดเชื้อ เชื้อก็สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้ และยังสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ถึง 16 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นหากเราเข้าไปอยู่ในห้องที่ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์มาใช้นี้ ก็ยังมีโอกาสที่จะติดโควิดสายพันธุ์นี้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะเด็กเล็ก และจากความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย ทำให้มีโอกาสเพิ่มยอดผู้ติดเชื้อ 10 เท่าในทุก ๆ 11 วัน
สายพันธุ์เดลตาพลัส (Delta Plus) คืออะไร
สายพันธุ์เดลตาพลัส ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลตา ซึ่งจะมีการกลายพันธุ์ในกรดอะมิโน ที่เรียกว่า k417n เป็นกรณีกลายพันธุ์ที่คล้ายกับสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์นี้สามารถหลบเลี่ยงภูมิต้านทานได้ดีกว่า และติดต่อได้ง่ายที่สุดในไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์
อาการที่พบในโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
- ปวดศีรษะ
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
- ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
- มีอาการทั่วไปคล้ายหวัดธรรมดา
ประสิทธิภาพของวัคซีนต่อเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
วัคซีนไฟเซอร์ : Pfizer
- ฉีดเข็มที่ 1 ป้องกันการติดเชื้อได้ 33% (หมายความว่า 33% เมื่อติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ)
- ฉีดเข็มที่ 2 ป้องกันการติดเชื้อได้ 88%
วัคซีนโมเดอร์นา : Moderna
- ฉีดเข็มที่ 1 ป้องกันการติดเชื้อได้ 33%
- ฉีดเข็มที่ 2 ป้องกันการติดเชื้อได้ 88%
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า : AstraZeneca จากข้อมูลของทางสหรัฐฯ
- ฉีดเข็มที่ 1 ป้องกันการติดเชื้อได้ 33%
- ฉีดเข็มที่ 2 ป้องกันการติดเชื้อได้ 60%
วัคซีนซิโนแวค : Sinovac
- ยังไม่มีรายงานในการป้องกันการติดเชื้อ
แม้ประสิทธิภาพจะต่างกัน แต่วัคซีนทุกยี่ห้อยังสามารถป้องกันการอาการหนักหากติดเชื้อจากสายพันธุ์เดลตาได้ทั้งหมด เพราะเพื่อป้องกันอาการรุนแรงควรเข้ารับการฉีดวัคซีน
ป้องกันโควิดทุกสายพันธุ์
- สวมหน้ากากอนามัย
- ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- รักษาระยะห่างกับผู้อื่น
- ไม่ชุมนุมหรือรวมกลุ่มกัน
- ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง
- ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 โดยเร็ว
การมีวินัยในตนเองจะส่งผลดีต่อทั้งตัวเรา และผู้อื่นร่วมกับการคอยติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงเชื้อโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี
บทความที่เกี่ยวข้อง
ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา