เจ็บหน้าอกข้างซ้าย เหนื่อยง่าย เป็นโรคหัวใจหรือเปล่า?

หลายคนอาจจะเคยมีอาการเจ็บหน้าอก หรือเหนื่อยง่าย ถ้าเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะยังวิเคราห์ได้ไม่ชัดเจนนะครับว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า เพราะการเจ็บหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายอาจจะเกิดมาจากสาเหตุของโรคอื่น ๆ ได้เล่นเดียวกัน

แต่ถ้าหากใครมีอาการเจ็บหน้าอก ร่วมกับเหนื่อยง่าย ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนโรคหัวใจที่ควรรีบไปพบแพทย์ครับ

นพ.วัฒนา บุญสม ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจวิชัยเวช รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเจ็บหน้าอก และอาการเหนื่อยง่าย ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจ เพื่อให้หลาย ๆ ท่านได้สังเกตอาการเบื้องต้นกันครับ

การเจ็บหน้าอกข้างซ้าย ส่วนมากเข้าใจกันว่าเป็นอาการของหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเปล่า โดยทั่วไป หัวใจอยู่ข้างซ้ายใช่ แต่อาการเจ็บมันจะบอกตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน ถ้าเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการที่พบจะมีตั้งแต่

  • มีอาการจุก อาการแน่น เหมือนมีอะไรมากด มารัด มาทับ บริเวณหน้าอก
  • ถ้าเป็นมาก ๆ จะมีร้าวไปกราม ไปไหล่ ไปแขน หรือไปคอ บางทีไปที่ท้อง อาการจะคล้ายโรคกระเพาะ

แต่ว่าตัวที่กระตุ้นให้เจ็บ เช่น บางคนเวลาออกแรงเยอะๆ จะมีการเจ็บมากขึ้น พอพักแล้วเบาลง อันนี้ให้สงสัยว่าจะเป็นหลอดเลือดหัวใจ อาการพวกนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นข้างซ้ายเป๊ะ ๆ บางทีก็บอกยากว่าอยู่ตำแหน่งไหน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงแถวบริเวณหน้าอก แถว ๆ ลิ้นปี่ แต่อาการที่เห็นได้ชัด คือ ยิ่งออกแรง ยิ่งเป็นเยอะขึ้น เพราะฉะนั้นหากรู้สึกว่าเจ็บแน่นหน้าอกมากผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ โดยเฉพาะถ้าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีอาการลักษณะแบบนี้มาก่อนเลย

แบบไหนถึงเรียกว่า เหนื่อยง่าย
อาการเหนื่อยที่เกิดขึ้นแต่ละคนก็จะมีความรู้สึกไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะเคยมีอาการเหนื่อยหอบ หลังออกกำลังกาย แบบนี้ถือเป็นอาการเหนื่อยตามปกติ แต่บางคนอาจจะรู้สึกว่าเหนื่อยตัวเอง “เหนื่อยง่าย” อาจหมายถึง เมื่อเราใช้แรง หรือออกกำลังกายแล้วเหนื่อย ในขณะที่คนปกติอื่น ๆ ที่มีอายุใกล้เคียงกับเรา สามารถทำได้โดยไม่มีอาการอะไร พูดง่าย ๆ คือ คนอื่นทำได้ไม่เหนื่อย แต่เรารู้สึกเหนื่อย หรือบางรายอาจมีอาการหายใจเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขณะที่ออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรงจะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือนั่งหลับ นี่ถือเป็นอาการเหนื่อยจากโรคหัวใจที่ต้องรีบไปพบแพทย์=

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

คุณหมอแนะนำว่าจะต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคครับ ซึ่งการตรวจสุขภาพทั่วไป อาจจะไม่สามารถบอกได้ชัดเจน 100% จะต้องทำการตรวจสุขภาพหัวใจโดยเฉพาะ

วิธีตรวจโรคหัวใจ มีแบบไหนบ้าง

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยโรคหัวใจมีหลายแบบ….โรคหัวใจมีทั้ง

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว

เนื่องจากโรคหัวใจมีหลายแบบ การตรวจโรคหัวใจ จึงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

การตรวจเพื่อหาโรค

ถ้าเกิดเรามีอาการ แล้วเราไปหาคุณหมอ  คุณหมอเขาจะตรวจวินิจฉัยตามอาการนั้น เช่น เจ็บ มีแน่นหน้าอก มีอะไรแบบนั้น การตรวจเช่นหัวใจเต้นผิด จังหวะ หรือการตรวจเรื่องการเหนื่อย คุณหมออาจจะทำการ

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอ็กซ์เรย์ดู

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ


ตรวจเอ็กโคคาร์ดิโอแกรม เป็นอัลตร้าซาวน์ดูหัวใจ


หรือการตรวจวิ่งสายพาน เพื่อจะหาโรคว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเปล่า

การตรวจวิ่งสายพาน

 

การตรวจอื่น ๆ เช่น การฉีดสี การสวนหัวใจ เพื่อดูว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเปล่า หรือการตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ฉีดสีดูหัวใจ อันนี้เป็นการตรวจเพื่อหาโรค

อีกกลุ่มนึงคือ การตรวจเพื่อป้องกันโรค อันนี้เป็นอันที่หลายๆ คนยังไม่ได้รับทราบตรงนี้เยอะ อย่างเช่นคนที่มีกรรมพันธุ์ หรือมีปัจจัยเสี่ยงสูง ๆ อาจจะเกิดโรคหัวใจในอนาคต การตรวจดูเบาหวาน ดูไขมัน ดูความดัน เป็นพื้นฐานที่เราตรวจกันอยู่แล้ว เพื่อดูปัจจัยเสี่ยง แต่ถ้าคนที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง การตรวจเพื่อหาโรค เช่น การดูค่าหินปูนในเส้นเลือดหัวใจ การดูหลอดเลือดแขน หลอดเลือดขา หลอดเลือดคอว่าตีบไหม เพราะการดูหลอดเลือดแขน ขา หรือคอที่ตีบอาจจะสัมพันธ์กับหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ เพราะหลอดเลือดทั้งตัวเป็นอวัยวะเดียวกัน ถ้าเจอตีบที่จุดอื่น หลอดเลือดหัวใจก็อาจจะตีบด้วย ถ้าเกิดเราเจอภาวะการตีบหรือรอยโรคที่จุดไหน การดูแลรักษาป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคในอนาคตก็สิ่งที่จำเป็นมากครับ

 

 

ฉุกเฉินโรคหัวใจ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line