ยารักษาโควิด-19 แยกตามอาการหรือกลุ่มสี

สำหรับยารักษาโควิด-19 ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่จำเพาะกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ยาที่ใช้รักษาจึงเป็นการนำยาที่ใช้รักษาโรคอื่น ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่า มีประโยชน์กับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จะแบ่งออกเป็น

ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย

เมื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation หรือ Hospitel  จะได้รับยาเพื่อรักษาอาการเบื้องต้น ได้แก่

ฟ้าทะลายโจร

สรรพคุณของยาฟ้าทะลายโจร :

  • ลดการอักเสบ ไข้ ไอ เจ็บคอ
  • ปรับภูมิคุ้มกัน
  • ยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส

ผลข้างเคียงของยาฟ้าทะลายโจร : อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย แขนขาอ่อนแรง

วิธีรับประทานยาฟ้าทะลายโจร

  • วันละ 180 กรัมต่อวัน แบ่ง 3 มื้อ มื้อละ 60 มิลลิกรัม (จำนวนแคปซูลขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ)
  • ทานติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาฟ้าทะลายโจร

  • ไม่ควรกินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาลดความดัน แอสไพริน โคลพิโดเกรล (ยาต้านเกล็ดเลือด) และยาวาร์ฟาริน
  • ห้ามใช้กับผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • หากแพ้ให้หยุดกินยาทันที หากทานไปประมาณ 3 วันอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์
  • หากซื้อยาฟ้าทะลายโจรทานเอง ควรพิจารณายี่ห้อที่ผ่าน อย.
  • ยาฟ้าทะลายโจร ไม่สามารถป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ แต่ช่วยบรรเทาอาการที่ไม่รุนแรง ใช่ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรครุนแรง เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก ลดโอกาสที่โรคจะลุกลามลงปอด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีน และปฎิบัติตัวตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

วิธีใช้ยาฟ้าทะลายโจรสำหรับผู้ป่วยโควิด-19

ฟ้าทะลายโจร

 

ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง คือกลุ่มที่เริ่มมีความเสี่ยงของโรครุนแรง จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)  มีทั้งรูปแบบที่เป็นเม็ดและเป็นน้ำ **ไม่ได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ทุกคน จะจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เป็นยาที่ต้องกินภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น**

กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์

  • ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง ที่เริ่มมีอาการของโรค เช่น ไข้สูง
  • ผู้ป่วยที่มีอาการโรคร่วม  หรือ กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน โรคอ้วน โรคไต โรคหัวใจ-ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือตามดุลยพินิจของแพทย์
  • ผู้ที่เริ่มมีภาวะปอดอักเสบ
    ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่ยังไม่มีอาการ หรือใช้เพื่อป้องกันโรค

สรรพคุณของยาฟาวิพิราเวียร์

  • ขึ้นทะเบียนเป็นยาสำหรับรักษาไข้หวัดใหญ่ แต่เป็นยาที่ออกฤทธิ์กว้าง จึงใช้ได้กับโรคติดต่ออื่น ๆ
  • ขัดขวางการสร้าง RNA ของไวรัสชนิดต่าง ๆ ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส
  • ทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์จนภูมิต้านทานของร่างกาย สามารถเข้าไปกำจัดไวรัสได้หมด

ผลข้างเคียงของยาฟาวิพิราเวียร์ ใช้กรณีมีข้อบ่งชี้เท่านั้น

  • อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ตา เล็บหรือผิวหนังเปลี่ยนสี เป็นสีม่วงอมน้ำเงิน และพบตาเรืองแสงได้ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากเป็นยาที่มีคุณสมบัตรเรืองแสง แต่ไม่เป็นอันตราย และไม่กระทบต่อการมองเห็น อาการนี้จะสามารถหายได้เอง เมื่อหยุดยาประมาณ 14 วัน
  • ตับทำงานหนัก ส่งผลให้ตับอักเสบได้
  • การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในหญิงตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงเกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์
    -หากใช้เกินความจำเป็น อาจส่งผลให้เกิดการดื้อยาของเชื้อไวรัส และทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง

วิธีรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์ **ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น**

  • ขนาดยาที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่
    ทานครั้งละ 9 เม็ด ทุก ๆ 12 ชั่วโมงในวันแรก
    วันต่อมาลดเหลือครั้งละ 4 เม็ด ทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม
    ทานครั้งละ 12 เม็ด ทุก ๆ 12 ชั่วโมงในวันแรก
    วันต่อมาลดเหลือครั้งละ 5 เม็ด ทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสำหรับผู้ป่วยเด็ก
    ต้องมีการคำนวณขนาดยาตามน้ำหนักตัว  โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาตามวันและเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ทานติดต่อกัน 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับอาการของโรค และดุลยพินิจของแพทย์
    ยาฟาวิพิราเวียร์แบบน้ำ สำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่กลืนยายาก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาฟาวิพิราเวียร์

  • ผู้ที่มีภาวะซีด เป็นโรคไต โรคตับ อาจพบปัญหาเมื่อกินยาฟาวิพิราเวียร์
  • การใช้ยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  • ห้ามซื้อผ่านออนไลน์

ฟาวิพิราเวียร์

 

ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง
ผู้ป่วยจะได้รับยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาที่ใช้กันมากในต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย เป็นยาฉีด

กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับยาเรมเดซิเวียร์

  • ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง​ ที่มีอาการหนัก ไม่รู้สึกตัว กินยาไม่ได้
  • ผู้ที่มีระบบดูดซึมไม่ดี
  • ผู้ที่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์แล้วร่างกายไม่ตอบสนอง
  • หญิงตั้งครรภ์

สรรพคุณของยาเรมเดซิเวียร์

  • เป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสได้อย่างกว้างขวางเหมือนกับยาฟาวิพิราเวียร์ -มีประสิทธิภาพดีต่ออาร์เอนเอ RNA ไวรัสหลายชนิดรวมถึงไวรัสก่อโรคอีโบลาและโคโรนาไวรัสชนิดต่าง ๆ ในกรณีของโคโรนาไวรัสนั้น ผลการศึกษาในหลอดทดลองพบว่ายาเรมเดซิเวียร์มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสโรคซาร์ส (SARS-CoV), ไวรัสโรคเมอร์ส (MERS-CoV) และไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2)
  • ยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส
  • นอกจากนี้ยายังทำให้เกิดการสร้างสารพันธุกรรมอาร์เอนเอของไวรัสที่ผิดปกติและทำให้ไวรัสตาย คาดว่ายานี้มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างอื่นอีกรวมถึงอาจออกฤทธิ์ในขั้นตอนยับยั้งไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ในร่างกายคน

ผลข้างเคียงของยาเรมเดซิเวียร์

  • อาจทำให้ตับทำงานหนัก จนเกิดภาวะตับอักเสบ
  • ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เหงื่อออก

วิธีใช้ยาเรมเดซิเวียร์ (ยาฉีด)

  • วันแรก ปริมาณฉีด 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ผ่านหลอดเลือดดำ
  • วันต่อมา ปริมาณฉีด 2.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ผ่านหลอดเลือดดำ
    **ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น**

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาเรเดมซิเวียร์

  • ให้เลือกใช้ฟาวิพิราเวียร์หรือเรมเดซิเวียร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช้ร่วมกัน เนื่องจากเป็นยาที่มีกลไลออกฤทธิ์เหมือนกัน
  • ระวังการใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตบกพร่อง
  • เป็นยาที่ใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น

 

เรมเดซิเวียร์

 

ยาชนิดอื่นที่แพทย์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก

  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
    เป็นยาลดอาการอักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศข้อแนะนำให้ใช้ร่วมกับยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต กรมการแพทย์กำหนดแนวทางในการใช้ยาคอร์ติโคสตียรอยด์ ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง โดยอาจใช้ร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์,ยาโลพินาเวียร์และริโทนาเวียร์
  • โลพินาเวียร์และริโทนาเวียร์ (Lopinavir / Ritonavir)
    เป็นยาต้านไวรัส HIV สูตรผสม ระหว่างโลพินาเวียร์และริโทนาเวียร์ กรมการแพทย์กำหนดแนวทางการให้ยา 2 ตัวนี้ ร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรง

 

ยาชนิดอื่นที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยโควิดอาการหนัก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
 02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

 

Line