EKG หรือ การวินิจฉัยโรคหัวใจ ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือที่เรียกว่า Electrocardiography เป็นการตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว เป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่าย ได้ผลดี ไม่เจ็บ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) บอกอะไรได้บ้าง?
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการตรวจเพื่อที่จะศึกษาลักษณะของไฟฟ้าหัวใจของคนไข้ ณ ขณะที่ทำการตรวจ ซึ่งปกติการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถบอกอะไรได้หลายอย่าง
เช่น
- ความผิดปกติของเยื้อหุ้มหัวใจ ณ ขณะนั้นว่ามีความผิดปกติหรือไม่
- รู้ถึงโครงสร้างหัวใจ ว่าห้องหัวใจห้องไหนเกิดความผิดปกติ เช่น หัวใจโตมากกว่าปกติ หรือมีความหนาตัวของห้องหัวใจมากกว่าปกติ
- นอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาการเต้นของหัวใจว่าเป็นการเต้นที่ผิดปกติหรือไม่ ช้าไปหรือว่าเร็วไป
- และยังสามารถทราบถึงความผิดปกติของเส้นเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันหรือไม่
- นอกจากนี้กรณีคนไข้ที่ได้รับยาที่มีผลต่อหัวใจ จะเกิดความผิดปกติต่อไฟฟ้าหัวใจหรือไม่อย่างไร
- และยังสามารถบ่งบอกถึงการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ ซึ่งปัจจุบันเป็นอุปกรณ์ได้ได้รับการใช้งานมากขึ้น สำหรับคนไข้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ
ข้อดีของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- เป็นการตรวจที่ง่าย
- ได้ผลที่เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคหลายอย่าง
- ไม่มีข้อห้ามหรือข้ออันตรายที่จะส่งผลต่อคนไข้
- ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนและหลังการตรวจ
- ใช้เวลาน้อยไม่เกิน 5 นาที
- ไม่เกิดภาวะแรกซ้อนใด ๆ หลังการตรวจ บางรายอาจจะเจอจุดแดงเล็ก ๆ บริเวณที่ติดเครื่องมือในการตรวจ ซึ่งจุดแดงนี้ไม่ได้ทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บ หรือระคายเคืองแต่อย่างใด และสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 วัน
- สามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัย
เมื่อได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้ว จะสามารถทำการบอกโรคได้ทันที สามารถบอกได้เลยว่าพบความผิดปกติต่อหัวใจอะไรบ้าง แต่หากผลออกมาว่าคนไข้ไม่มีอาการ ก็จะไม่ได้ยืนยัน 100% ว่าคนไข้จะไม่มีความผิดปกติของหัวใจ จำเป็นต้องไปทำการสืบค้นเรื่องของโรคหัวใจต่อ ในกรณีที่แพทย์ที่ทำการตรวจยังมีความสงสัยว่าคนไข้จะมีปัญหาด้านโรคหัวใจมาก ๆ เช่น
กรณีคนไข้มีอาการใจสั่น แต่พอตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ กลับไม่พบความผิดปกติเกี่ยวกับไฟฟ้าหัวใจ ณ ขณะนั้น คุณหมอก็อาจจะแนะนำให้คนไข้ตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ซึ่งจะสามารถเก็บข้อมูลทางกราฟไฟฟ้าหัวใจของคนไข้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงว่ามีความผิดปกติหรือไม่
กรณีคนไข้มีอาการเจ็บแน่น หน้าอก และเป็นกรณีเจ็บแน่นหน้าอก ขณะออกแรง การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ณ ขณะที่คนไข้พักอยู่ไม่ได้ออกแรง อาจทำให้ตรวจไม่เจอความผิดปกติ ซึ่งคุณหมออาจจะแนะนำให้ตรวจการเดินหรือวิ่งสายพาน Exercise Stress Test (EST)
หรือถ้าสงสัยว่าคนไข้อาจมีโครงสร้างหัวใจที่ผิดปกติ เช่น ดูลักษณะของกราฟไฟฟ้า แล้วเห็นว่าห้องหัวใจมีความผิดปกติ ก็สามารถส่งคนไข้ไปตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง หรือ Echocardiograohy
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ. (EKG) สามารถตรวจได้บ่อยแค่ไหน?
ความถี่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของคนไข้ ว่ามีพื้นฐานโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีอาการที่คาดว่าน่าจะเกี่ยวกับโรคหัวใจ ก็สามารถทำการตรวจได้เลย แต่กรณีที่คนไข้ไม่มีความเสี่ยง คุณหมอจะแนะนำให้คนไข้คุมปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดโรคหัวใจ และเมื่อมาตรวจเช็คสุขภาพประจำปี อาจจะเช็คเรื่องของหัวใจไปปีละครั้ง แต่ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงสูง โรคประจำตัวเยอะ อาจจะตรวจ 6 เดือนครั้ง แต่ถ้าในระหว่างช่วงระยะเวลาที่ไม่ได้ทำการตรวจ เกิดผลอาการผิดปกติ ควรรีบเข้ามาพบแพทย์ครับ
ฉุกเฉินโรคหัวใจ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา