7 กลุ่มโรคประจำตัวเตรียมตัวรับวัคซีนโควิด19

การเข้ารับวัคซีนโควิด19 ถือว่ามีความสำคัญ เนื่องจากถือว่าเป็นโรคที่ยังไม่ได้มีการรักษาที่ชัดเจน เช่นเรื่องของตัวยา รวมถึงมีอัตราของผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น อย่างในต่างประเทศอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุ บางประเทศพุ่งสูงถึง 10-15%  ซึ่งการฉีดวัคซีนจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ลดความรุนแรงของโรค ซึ่งในประเทศไทยมุ่งหวังที่จะลดอัตราการเสียชีวิตและลดความรุนแรงของโรค จึงต้องมุ่งเน้นการฉีดวัคซีนโควิดให้กับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค หรือคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่รุนแรงได้

ทำไมกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังถึงมีอัตราความเสี่ยงสูง

เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว จะมีประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะในร่างกายเสื่อมลง นอกจากนี้ภูมิคุ้มกันยังลดลง ทำให้จึงมีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อโควิด19 อาจเกิดความรุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งอาการของโรคมีอย่างหลากหลาย ผู้ป่วยบางคนอาจไม่แสดงอาการใดๆเลย ในขณะที่ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการหนักมากจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จึงเป็นกลุ่มที่ต้องระวัง และควรได้รับวัคซีนในระยะเวลาอันรวดเร็ว

7 กลุ่มโรคประจำตัวที่จะได้รับการฉีดวัคซีน

1. ผู้ป่วยโรคปอด และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง  ผู้ป่วยโรคปอดและทางเดินหายใจที่มีความเสี่ยงสูง คือ ผู้ป่วยโรคหืดหอบระดับปานกลางถึงรุนแรงและผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ,โรคแอดอักเสบเรื้อรัง และโรคซิสติก ไฟโบรซิส เนื่องจากโควิด-19 มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นอาการหอบหืดและอาจทำให้เกิดโรคปอดบวมและโรคร้ายแรงอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยโรคปอด โควิด-19 อาจทำให้โรคปอดกำเริบหนักขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง

 2. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจหากติดโควิด-19 อาจมีอาการหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อาการโรคหัวใจที่รุนแรงยิ่งขึ้นนี้เกิดจากอาการป่วยของการติดเชื้อไวรัสและการที่หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้นจากภาวะไข้ ประกอบกับระดับออกซิเจนที่ต่ำลงจากปอดบวมและโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังอาจพบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (Myocarditis) ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย

 3. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคไตที่อยู่ในขั้นที่ 3 ถึงขั้นที่ 5 ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดและผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายไตอยู่ในกลุ่มเสี่ยงในการมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดอาจมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติทั่วไป นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายไตต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลงทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

4. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

5. โรคมะเร็งทุกชนิด ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด

6. โรคเบาหวาน  ทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหากติดโรคโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเป้าหมาย มักมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนและควบคุมได้ยาก ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลงและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น รวมถึงเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีในภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

 7. โรคอ้วน ผู้ที่เป็นโรคอ้วนชนิดรุนแรงคือผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 40 ขึ้นไปหรือตั้งแต่ 30 ขึ้นไป สำหรับชาวเอเชีย ผู้ที่เป็นโรคอ้วนชนิดรุนแรงมีความเสี่ยงในการเกิด กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคโควิด-19 นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนชนิดรุนแรงยังมีโรคประจำตัวเรื้อรังอื่นๆที่ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการมีอาการที่รุนแรงได้

การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว

  • หากรับประทานยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤต อัมพาต ไม่ควรหยุดยา ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
  • ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจต้องใช้เวลากดแผลบริเวณที่ฉีดให้นานขึ้น เช่น จาก 5 นาทีเป็น 15 นาที หรือนานกว่านั้น และหากหลังฉีดวัคซีน มีอาการห้อเลือดหรือจ้ำเลือดขึ้น ควรรีบพบแพทย์

อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด19 ที่อาจเกิดขึ้น

  • อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย และรู้สึกไม่สบายตัว อาจมีอาการปวดศีรษะเล็กน้อย อาการคล้ายมีไข้ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ
  • อาการที่พบได้ไม่บ่อย หรือพบได้น้อย เช่น มีไข้ มีก้อนที่บริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ เป็นต้น
  • อาการแพ้วัคซีน มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง หลอดลมตีบ หายใจลำบาก ผื่นขึ้นตามตัว มีจุดเลือดออกจำนวนมาก อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก หมดสติ

หากพบว่ามีอาการรุนแรงการการฉีดวัคซีนควรรีบพบแพทย์

ข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนโควิด19

สิ่งที่ต้องแจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบก่อนการฉีดวัคซีน ได้แก่

  1. มีประวัติการแพ้ยา วัคซีน อาหาร สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ อย่างรุนแรงหรือเป็นอันตรายต่อชีวิต
  2. มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียสในวันที่นัดฉีดวัคซีน
  3. มีรอยช้ำหรือจ้ำเลือด หรือเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น วาร์ฟาริน
  4. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่ เช่น ยาสเตียรอยด์ขนาดสูง ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยากดภูมิคุ้มกัน
  5. มีอาการข้างเคียงทุกชนิดจากการฉีดวัคซีนในเข็มแรง
  6. ตั้งครรภ์ หรือมีแผนตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

 

ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
 02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line