ใจสั่นหวิวเป็นเรื่องธรรมดา หรือว่าโรคหัวใจถามหา

อาการใจสั่น หรือใจเต้นไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ออกกำลังกายหนักเกิน มีความเครียด หรือแม้กระทั่งผลข้างเคียงจากยาบางชนิด จนบางครั้งหลายคนเริ่มสงสัยว่า อาการใจสั่น เป็นเรื่องธรรมดาหรือเป็นโรคหัวใจกันแน่ ศูนย์หัวใจวิชัยเวช รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการใจสั่น หรือใจสั่นหวิวมาฝากกันครับ

อินโฟกราฟิกใจสั่นหวิว เป็นเรื่องธรรมดาหรือโรคหัวใจ

อาการใจสั่น เกิดจากการที่หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ เป็นความผิดปกติของระบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้หัวใจ เต้นเบาเกินไป หรือแรงเกินไป เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป อาการใจสั่น อาการนี้เกิดขึ้นไม่นาน หัวใจก็สามารถกลับมาเต้นเป็นปกติได้ ทั่วไปอาการใจสั่นอาจไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย

กลุ่มเสี่ยงหลัก ๆ ที่อาจจะมีอาการใจสั่น และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง คือ

  1. ผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น ผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
  3. ผู้สูงอายุ
  4. ผู้ที่มีการนำไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ
  5. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ

อินโฟกราฟิกอาการใจสั่นและสาเหตุ

 

สาเหตุของอาการใจสั่น สามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณีครับ ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง เช่น นอนหลับไม่เพียงพอ ,ออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมาก, รับประทานอาหารปริมาณมากหรือมีรสเผ็ด, ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาและกาแฟ, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, มีความเครียดหรือกังวล, รู้สึกกลัว ตื่นเต้น หรืออาจเกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ,ยาพ่นรักษาหอบหืดบางชนิด ,ยาแก้ไอหรือยาแก้หวัดบางชนิด , ยาแก้แพ้ ฯลฯ หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างที่มีประจำเดือน , ระหว่างตั้งครรถ์ หรืออยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน

หรือสาเหตุอาจเกิดจากภาวะทางหัวใจอื่น ๆ ลิ้นหัวใจมีปัญหา เช่น

  • ลิ้นหัวใจยาว (Mitral Valve Prolapse)
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่มีกล้ามเนื้อหนากว่าปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
  • หัวใจวาย ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ

อาการใจสั่น ที่สามารถสังเกตุได้ คือ รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วหรือแรงกว่าปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือหากเริ่มมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เป็นสัญญาณที่บอกว่ากำลังเกิดภาวะทางหัวใจที่อันตราย เช่น  เจ็บแน่นหน้าอก , หายใจลำบาก ,เวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์นะครับ

 

อินโฟกราฟิกการรักษาอาหารใจสั่น

 

เบื้องต้นคุณหมอจะทำการการวินิจฉัย โดยการซักประวัติผู้ป่วย เช่น กิจวัตรประจำวัน ระดับความเครียด และยารักษาโรคที่กำลังใช้อยู่ จากนั้้นคุณหมอจะตรวจร่างกายและอาจให้ทำการตรวจเพิ่มเติ่ม เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG or EKG) ช่วยตรวจการทำงานของหัวใจ เป็นการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าผู้ป่วยมีโรคหัวใจหรือภาวะทางหัวใจอื่น ๆ หรือไม่ ,การใช้อุปกรณ์บันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เป็นอุปกรณ์พกพาที่ใช้เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะช่วยหาความผิดปกติจังหวะการเต้นของหัวใจและการทำงานของหัวใจ,การตรวจด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study) เป็นการตรวจการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อหาจุดกำเนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาได้ว่าควรใช้ยาหรือวิธีใดในการรักษา

หากแพทย์พบว่าสาเหตุของใจสั่นมาจากภาวะทางร่างกายหรือโรคประจำตัว แพทย์ก็จะรักษาและแก้ไขภาวะหรือโรคนั้น ๆ รวมไปถึงขั้นตอนที่ใช้รักษาจุดที่เกิดปัญหาในหัวใจโดยตรง เช่น

  1. การใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
  2. การช็อตไฟฟ้าปรับการเต้นของหัวใจ
  3. การใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ
  4. การฟังเครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือกระตุกหัวใจให้เต้นตามอัตราที่กำหนด

ฉุกเฉินโรคหัวใจ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line