หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตราย!

เช็คอาการ “หัวใจเต้นผิดจังหวะ” หากคุณมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก หรือรุนแรงถึงขั้นเป็นลมหมดสติ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปกติ หรือมองข้ามไป!! เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคหัวใจเต้นผิดจังวะ” โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มี พฤติกรรมชอบดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ และมีภาวะเครียด!!

หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ Arrhythmia เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้า หรือเร็วกว่าปกติ อาจรู้สึกเต้นสะดุด ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย เพราะฉะนั้นควรสังเกตุอาการผิดปกติของร่างกายให้ดีนะครับ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากอะไร?  “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ” มักมีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มชากาแฟ เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีภาวะเครียด
  • โรคบางชนิด เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • ยาและสารเสพติดบางชนิด เช่น ยาหลอดลม ยารักษาโรคหวัด ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ
  • มีความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าหัวใจตั้งแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา
  • การเสื่อมสภาพของระบบไฟฟ้าหัวใจ มักเกิดในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เนื่องจากหัวใจทำงานมาเป็นเวลานาน จึงเกิดความเสื่อมตามอายุการใช้งาน ระดับพลังงานที่กระตุ้นหัวใจจึงทำงานน้อยลง ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าผิดปกติ

อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากการมีจุดหรือตำแหน่งในหัวใจเกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีการลัดวงจรของไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งจะมีผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและเร็วกว่าปกติมาก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดทำให้มีภาวะเลือดตกค้างและเกิดลิ่มเลือดขึ้นในช่องหัวใจ โดยลิ่มเลือดนั้นมีโอกาสที่จะหลุดจากหัวใจไปตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักหลุดไปที่สมอง ทำให้เส้นเลือดในสมองอุดตัน และอาจเกิดภาวะอัมพาตในที่สุด

  • หัวใจเต้นช้าผิดปกติ มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที จะมีอาการมึนงง ใจหวิว วูบ ความดันโลหิตต่ำ หากเป็นหนักอาจจะเป็นลมหมดสติ ในรายที่อาการไม่มาก อาจมีเพียงอาการอ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที หากเป็นเพียงเล็กน้อยจะมีอาการเหนื่อยง่าย และหัวใจเต้นเร็วเท่านั้น แต่หากเป็นหนักจะมีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวาย และอาจเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน หากเกิดข้อสงสัยในกรณีที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรพบแพทย์เพื่อซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด ในกรณีมีอาการวูบ เป็นลม หมดสติ มีอาการใจสั่นอย่างรุนแรง หรือเหนื่อยมาก โดยขณะที่มีอาการควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

จะรู้ได้อย่างไร ว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือเปล่า สามารถตรวจได้จาก

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (EKG หรือ ECG)หรือกราฟหัวใจ เป็นการตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ออกมาจากหัวใจ สามารถบอกอัตราการเต้น และรูปแบบการเต้นที่ของหัวใจที่ผิดปกติได้
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพา 24 ชั่วโมง (Holter Monitor)

เป็นการบันทึกสภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหาสาเหตุของอาการใจเต้น ใจสั่น อาการวูบ การตรวจวิเคราะห์หัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. ทำโดยติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมงไว้กับตัว ผู้ป่วยสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงานได้ตามปกติ ไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล เมื่อครบกำหนด 24 ชั่วโมงแล้ว จึงกลับมาถอดเครื่อง และฟังผลการตรวจวิเคราะห์จากแพทย์ การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ หรือบางครั้งอาการดังกล่าวอาจไม่ปรากฎ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ณ เวลาที่ไม่มีอาการก็ปกติ ทำให้ไม่ทราบว่าอาการใจสั่นเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือไม่

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมจังหวะของหัวใจ
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) (เดี๋ยวใส่ลิงค์ไปที่บทความนี้ค่ะ)
  • การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (Cardioversion)
  • การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (Radiofrequency Ablation)
  • การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Implantable Cardioverter Defibrillator)
  • การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (Cardiac Electrophysiology Lab-EP Lab)

 โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ป้องกันได้อย่างไร?

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดโอกาสเกิดให้น้อยลงได้ เพียงดูแลตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอ

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ

 

ฉุกเฉินโรคหัวใจ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

 

Line