องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก เพื่อกระตุ้นให้ทุก ๆ ประเทศตระหนักถึงอันตราย และความสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่
“ควันบุหรี่ฆ่าคุณตายได้” เพราะควันบุหรี่เป็นแหล่งของสารก่อมะเร็งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ที่จะได้รับ
เนื่องจากควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีถึง 7,000 ตัว และมีกว่า 250 ตัวที่จัดว่าเป็นสารพิษที่อันตรายต่อสุขภาพ มี 70 ตัวที่เป็นสารก่อมะเร็ง และมีสาร 1 ตัวที่ทำให้เกิดการเสพติด เลิกไม่ได้ นั่นคือ “นิโคติน”
บุหรี่สามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ 12 ชนิด เส้นทางของสารพิษที่เดินทางไปทั่วร่างกายของเรา และเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคร้าย มีเส้นทางการเดินทางดังนี้
- ผู้ที่สูบบุหรี่ จะเกิดสัมผัสตรงจากการสูบดมควัน ควันจะเดินทางเข้าร่างกายผ่านช่องปาก กล่องเสียง หลอดลมและปอด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดลมและปอด
- สัมผัสโดยตรงจากการกลืน ควันบุหรี่เมื่ออยู่กับน้ำลาย สารก่อมะเร็งจะอยู่กับน้ำลาย เมื่อถูกกลืนเข้าไปในร่างกาย อาจะทำให้เกิด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร เมื่อถ่ายออกมา สามารถก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กับทวารได้
- เมื่อควันบุหรี่เข้าไปยังปอด จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด เดินทางไปทั่วร่างกาย เมื่อเดินทางไปถึงตับอ่อน ตับมีหน้าที่ขจัดสารพิษ สารก่อมะเร็ง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ หรือมะเร็งตับอ่อน เข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- เมื่อสารพิษถูกขับออกมาทางไต ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งไต อยู่ในปัสสาวะ ลงไปกระเพาะปัสสาวะ ก็มีโอกาสเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- และในผู้หญิง มีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากผู้หญิงที่สูบบุหรี่ ภูมิต้านทานของร่างกายจะลดลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสที่ปากมดลูก จนเกิดเป็นเนื้องอก หากสูบบุหรี่ต่อไป จะทำให้เนื้องอกบริเวณนั้น กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก
หากผู้ที่มีโอกาสเป็นมะเร็ง 12 ชนิดนี้ เลิกสูบบุหรี่ จะลดโอกาสการเป็นมะเร็งถึง 30%
หากเลิกสูบบุหรี่ ลดโอกาสการเป็นมะเร็งปอดถึง 85%
การสูบบุหรี่ทำให้
- อัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นเป็น 2 เท่า
- อัตราเสี่ยงของการเกิดโรคถุงลมโป่งพองสูงขึ้นเป็น 6 เท่า
- อัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดสูงขึ้นเป็น 10 เท่า
การสูบบุหรี่กับโควิด-19
การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่มวนหรือบุหรี่ไฟฟ้า จะทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ทำให้เกิดโอกาสที่จะติดเชื้อจากภายนอกได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อวัณโรค โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คนที่สูบบุหรี่ หรือสูบบุหรี่ไฟฟ้าต้องระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลยืนยันว่า
- ผู้ที่สูบบุหรี่ /บุหรี่ไฟฟ้า จะมีความเสี่ยง หากติดเชื้อโควิด-19 จะเกิดอาการของโรครุนแรง และมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนปกติ ถึงเกือบ 2 เท่า
- ผู้ที่สูบบุหรี่ /บุหรี่ไฟฟ้า เป็นอันตรายและสร้างความเสียหายกับปอด ทำให้เชื้อไวรัสทำลายเซลล์ของปอดได้ง่าย ทำให้ปวดอักเสบ (ปอดบวม) รุนแรง
- ผู้ที่สูบบุหรี่ /บุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย จากมือที่สูบบุหรี่ พาไวรัสเข้าทางปาก คนที่สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้ามวนเดียวกัน ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อเพิ่มขึ้น
- ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ) และมีประวัติสูบบุหรี่ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโควิด-19
- จีนพบผู้ป่วยโควิด-19 ที่สูบบุหรี่และมีอาการปอดอักเสบรุนแรง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและเสียชีวิตมากกว่า 14 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่สูบบุหรี่
- สหรัฐฯ พบผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล 1 ใน 3 อายุน้อยกว่า 45 ปี เป็นกลุ่มอายุที่ป่วยสูงกว่าประเทศอื่น ๆ เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่
- การเลิกสูบบุหรี่ จะทำให้ภูมิต้านทานปอดดีขึ้นทำให้ต่อสู้กับเชื้อร้ายดีขึ้น หากป่วยอาการก็ไม่หนัก และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา