คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเป็นกังวล เรื่องลูกติดมือถือ ติดเกม ส่งข้อความเข้ามาสอบถามกันเยอะมากนะครับ ว่า บางครั้งต้องทำงาน หรือมีภาระก็เลี้ยงลูกด้วยมือถือ สมาร์ทโฟนหรือแทปเลต นานเข้าลูกเริ่มติดมือถือ ติดเกม จะเป็นอันตรายแค่ไหน และควรต้องทำอย่างไร พญ.สิจา ลีลาทนาพร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็ก ศูนย์พัฒนาการเด็ก รพ.วิชัยเวช ฯ หนองแขมมีคำแนะนำครับ
ลูกติดมือถือ ติดเกม อันตรายแค่ไหน
ตัวอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ถ้าใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม จริง ๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตราย แต่การใช้เวลากับมือถือ เกม หรืออุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ มาก ๆ จะทำให้เด็กหลายคนขาดความสนใจในกิจวัตรที่สำคัญในชีวิต ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการเรียน
- ไม่สนใจเรื่องกิน เช่น สิ่งที่เคยชอบกิน ก็อาจจะไม่กิน จริงจังกับการเล่นมาก ทานไม่เป็นเวลา หรือบางคนเล่นไป กินไป กินตลอดเวลา จนเกิดภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน
- ไม่สนใจเรื่องนอน เช่น เล่นเกม พอมีความต่อเนื่อง บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ให้นอน นอนไปสักพักก็แอบตื่นขึ้นมาเพื่อที่จะเล่นเกม
- พบปัญหาเรื่องของสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาด้านสายตา เนื่องจากมือถือ จะมีแสงตกกระทบเข้าตาตลอดเวลา เด็กก็อาจจะมีปัญหา ปวดตา เสี่ยงสายตาสั้น ตาอักเสบ เกิดภาวะไวต่อแสง หรือมีภูมิแพ้ทางตานอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ นอนหลับไม่ดี นอนไม่ยาว
- ผลกระทบกับการเรียน สมอง สมองเล็กลงขาดการพัฒนา ทำให้พัฒนาการเชาวน์ปัญญาไม่ดี ไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น กระบวนการฝึกคิด การเรียนรู้ และการแก้ปัญหาที่เชื่องช้า
- ส่งผลกระทบอารมณ์ เนื่องจากอุปกรณ์สื่อสารไม่ว่าจะเป็นมือถือ แทปเลต สมาร์ทโฟน หรือเกม เนื่องจากจะมีการตอบสนแองที่ไว เร็ว ทำให้เด็กหงุดหงิดง่าย เมื่อโลกในความเป็นจริงไม่ได้ตอบสนองไวเหมือนในมือถือ เช่น เวลาเล่นเกม จะสามารถหยุด กลับไปแก้ไข หรือถอยหลัง ไปหน้าได้ แต่ในชีวิตจริงไม่ใช่ เพราะฉะนั้นเด็กที่ไม่มีประสบการณ์ในชีวิตจริงมากพอ พอเจอเหตุการณ์ในชีวิตจริงก็จะมีอารมณ์รุนแรง มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในกรณีเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี มักพบปัญหาลักษณะการโวยวายที่รุนแรงกว่าเด็กทั่วไปที่ไม่ได้ติดมือถือ และจะมีอาการแสดงชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้น โดยเริ่มจากการพูดจาที่ก้าวร้าว การแสดงออกที่รุนแรง และมีสภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติ หงุดหงิดง่าย วอกแวกง่าย หุนหันพลันแล่น ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และวิตกกังวลได้ง่ายกว่าเด็กกลุ่มอื่น
- พบปัญหาเรื่องของสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาด้านสายตา เนื่องจากมือถือ จะมีแสงตกกระทบเข้าตาตลอดเวลา เด็กก็อาจจะมีปัญหา ปวดตา เสี่ยงสายตาสั้น ตาอักเสบ เกิดภาวะไวต่อแสง หรือมีภูมิแพ้ทางตานอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ นอนหลับไม่ดี นอนไม่ยาว
- ผลกระทบกับการเรียน สมอง สมองเล็กลงขาดการพัฒนา ทำให้พัฒนาการเชาวน์ปัญญาไม่ดี ไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น กระบวนการฝึกคิด การเรียนรู้ และการแก้ปัญหาที่เชื่องช้า
- ส่งผลกระทบอารมณ์ เนื่องจากอุปกรณ์สื่อสารไม่ว่าจะเป็นมือถือ แทปเลต สมาร์ทโฟน หรือเกม เนื่องจากจะมีการตอบสนแองที่ไว เร็ว ทำให้เด็กหงุดหงิดง่าย เมื่อโลกในความเป็นจริงไม่ได้ตอบสนองไวเหมือนในมือถือ เช่น เวลาเล่นเกม จะสามารถหยุด กลับไปแก้ไข หรือถอยหลัง ไปหน้าได้ แต่ในชีวิตจริงไม่ใช่ เพราะฉะนั้นเด็กที่ไม่มีประสบการณ์ในชีวิตจริงมากพอ พอเจอเหตุการณ์ในชีวิตจริงก็จะมีอารมณ์รุนแรง มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในกรณีเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี มักพบปัญหาลักษณะการโวยวายที่รุนแรงกว่าเด็กทั่วไปที่ไม่ได้ติดมือถือ และจะมีอาการแสดงชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้น โดยเริ่มจากการพูดจาที่ก้าวร้าว การแสดงออกที่รุนแรง และมีสภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติ หงุดหงิดง่าย วอกแวกง่าย หุนหันพลันแล่น ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และวิตกกังวลได้ง่ายกว่าเด็กกลุ่มอื่น
เพื่อป้องกันผลกระทบต่าง ๆ แนะนำคุณพ่อคุณแม่ต้องควบคุมการใช้มือถือ เล่นเกม ของลูกให้ดี ควรมีการตกลงเวลา และควรให้เด็กมีกิจกรรมอื่นบ้าง
มือถือ ทำให้ลูกสมาธิสั้นจริงหรือ?
ตัวมือถือเอง ไม่ได้ทำให้เด็กสมาธิสั้น แต่วิธีการใช้สื่อ การใช้สื่อในปริมาณมาก หรือรูปแบบความสะดวกสบายของสื่อ ส่งผลกับสมาธิเด็ก เช่น เด็กดูคลิปในยูทูป ถ้าไม่พอใจสามารถปัดผ่าน หรือเปลี่ยนเรื่องได้อย่างรวดเร็ว หรือเด็กที่เล่นเกม ก็สามารถเปลี่ยนเกมได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนวิธีการตอบสนองของเด็ก พอในชีวิตจริง เมื่อเขาไม่พอใจสิ่งไหน แล้วไม่สามารถหยุดหรือย้อนกลับไปได้ ไม่สามารถเปลี่ยนได้อย่างว่องไว เหมือนตอนดูมือถือ หรือเล่นเกม ก็จะทำให้วอกแวกง่าย ไวต่อสิ่งเร้า ไม่ค่อยมีสมาธิ หรือผูกกับเรื่องที่อยู่ตรงหน้า นอกจากนี้อุปกรณ์สื่อสารหรือเกม จะทำให้เด็กรู้สึกไม่ต้องอดทนรอคอย ก็จะดูคล้ายคนสมาธิสั้น
วิธีแก้ไขเมื่อลูกติดจอ ติดเกม หรือมือถือ
- พ่อแม่ควรตกลงเวลากับลูกในการใช้มือถือ หรือเล่นเกม การตั้งกติการ่วมกันจะทำให้สามารถพูดคุยกับลูกได้ง่ายขึ้น เช่น อยากให้ลูกใช้มือถือ หรือเล่นเกม ไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อวัน ใช้ได้ช่วงไหนบ้าง ใช้ได้ในวันธรรมดา เมื่อภารกิจเรื่องการเรียน หรือกิจกรรมอื่น ๆ เสร็จ หรือใช้ในวันหยุดได้กี่ชั่วโมง ช่วงไหนบ้าง และต้องการให้พ่อแม่ช่วยอะไรไหมเมื่อเวลาใกล้จะหมด เช่น อาจจะช่วยเตือนสัก 15 นาทีก่อนหมดเวลา
- พ่อแม่ควรชื่นชมลูก เมื่อลูกทำได้ตามเวลาที่ตกลง
- พ่อแม่ลูกควรมีเวลาในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกัน เช่น ระบายสี วาดรูป ร้องเพลง ให้เด็กช่วยทำงานบ้าน หรือเอางานของคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกได้มีส่วนร่วม เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า
- คุณพ่อคุณแม่ควนเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูก ใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ ใช้เวลาคุณภาพกับลูก
บทความที่เกี่ยวข้อง
พญ.สิจา ลีลาทนาพร
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็ก
ศูนย์พัฒนาการเด็ก รพ.วิชัยเวช ฯ หนองแขม
ลูกมีปัญหาด้านพัฒนาการ พูดช้า ดื้อ ซน ต่อต้าน สมาธิสั้น IQ&EQ ออทิสติก
ติดต่อศูนย์พัฒนาการเด็ก
02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา