โรคฝีดาษลิง ป้องกันได้

โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร ที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่าMonnkeypox แม้มีโอกาสติดน้อย ยังเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังและจับตา เนื่องจากสถานการณ์อย่างในสหรัฐอเมริกามีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น และในฝั่งประเทศแถบยุโรป ก็มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน และกลุ่มคนที่ติดเชื้อในต่างประเทศเริ่มมีการวงกว้างมากขึ้น จากกลุ่มชายรักชาย เริ่มแพร่กระจายมายังกลุ่มผู้หญิงและเด็กมากขึ้น

โอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อฝีดาษลิง มากน้อยแค่ไหน

เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อฝีดาษลิง จะเกิดขึ้นจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยทางสารคัดหลั่ง จากผิวที่เป็นตุ่มหนอง หรือละอองฝอยจากการหายใจ ทำให้โอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยเฉพาะความใกล้ชิดของสมาชิกในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการกอด การสัมผัสใกล้ชิด จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อสูง หากมีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคฝีดาษลิง

ซึ่งโอกาสในการติดเชื้อ จะขึ้นอยู่กับปริมาณของไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น

  • หากสัมผัสโดยตรงกับแผลที่เป็นตุ่มหนอง ซึ่งมีปริมาณไวรัสที่อยู่บริเวณแผลเป็นจำนวนมาก โอกาสติดเชื้อก็จะสูง
  • กรณีการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า จาน ช้อน แก้วน้ำ อาจจะไวรัสปนเปื้อนอยู่ แต่ปริมาณอาจจะมีจำนวนไม่มาก โอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อก็จะไม่มากเท่ากับการสัมผัสโดยตรงที่แผล หรือสัมผัสโดยตรงที่ตัวผู้ป่วย แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะโอกาสที่จะสามารถรับเชื้อมาได้ ยังคงมีอยู่

จะสังเกตได้อย่างไร ว่าใครเป็นโรคฝีดาษลิง

สำหรับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ที่เริ่มมีอาการและสามารถแพร่เชื้อได้ ส่วนใหญ่จะเริ่มมีตุ่มขึ้นที่ร่างกาย เพราะฉะนั้นให้สังเกตตนเองหรือคนรอบข้าง ว่ามีตุ่มผิดปกติขึ้นบริเวณผิวหนังหรือเปล่า นอกจากการมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อ่อนเพลีย  โดยผื่นจากออกหลังจากมีอาการไข้ภายใน 1-3 วัน

ลักษณะของตุ่มที่เกิดจากโรคฝีดาษลิง

  • จะเป็นตุ่มขนาดไม่ใหญ่
  • มีการพัฒนาเป็นระยะดังนี้ เริ่มจากผื่นนูนแดง กลางเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นตุ่มหนองสีขาวเหลือง ตรงกลางจะมีรอยบุ๋มและสะเก็ด โดยตุ่มทั้งหมดจะขึ้นพร้อมกัน

การสัมผัสกับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง เพียงครั้งเดียวมีโอกาสติดเชื้อมากน้อยแค่ไหน

การสัมผัสกับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง แม้เป็นการสัมผัสเพียงครั้งเดียว ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ เนื่องจากต้องขึ้นกับว่าผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงที่เราไปสัมผัส ติดเชื้ออยู่ไหนระยะไหน หากเป็นระยะเริ่มต้น คือ มีอาการไข้ มีผื่นแดงขึ้นที่ผิวหนัง ยังไม่เป็นตุ่มหนอง โอกาสการแพร่กระจายเชื้ออาจจะยังไม่มาก แต่สำหรับผู้ที่มีอาการมาก คือ ผิวหนังเริ่มมีตุ่มหนอง การแพร่กระจายเชื้อก็จะสูงกว่า หากสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยแล้ว สิ่งที่ต้องรีบทำ คือต้องรีบล้างมือ อาบน้ำ

เนื่องจากเชื้อไม่ได้แพร่กระจายจากผิวหนังโดยตรง แต่เชื้ออาจจะติดอยู่ที่มือ ร่างกาย หากร่างกายเรามีแผล หรือเราหยิบสิ่งของเข้าปาก หรือนำมือมาเช็ดหน้า เช็ดตา จะเป็นช่องทางที่ทำให้เชื้อแพร่เข้าสู่ร่างกายได้

วิธีการป้องกันโรคฝีดาษลิง

  • ล้างมือบ่อย ๆ เพราะเชื้อไวรัสจะถูกทำลายได้จากสบู่ หรือแอลกอฮอล์
  • เว้นระยะห่าง เพื่อป้องกันการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • กินอาหารปรุงสุก
  • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • เลี่ยงใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีตุ่มหนอง
  • เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก
  • หากสงสัยว่าป่วย หรือรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์

ฝีดาษลิงป้องกันได้

 

ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
 02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

 

Line