ไวรัสโควิด19 ยังแพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทย และหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก หลาย ๆ คนอาจจะมีความสงสัยและวิตกกังวลว่า เราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเราอยู่ในกลุ่มไหนของการแพร่ระบาด สังเกตวิธีพิจารณาความเสี่ยงด้วยตัวเอง เมื่อพบผู้ป่วยโควิด19 ว่าเรามีความเสี่ยงระดับไหน
จากการระบาดของไวรัสโควิด19 จะมีการแบ่งกลุ่มของผู้ที่มีโอกาสจะติดเชื้อ ซึ่งการจัดกลุ่มของผู้มีความเสี่ยงอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ หรือแตกต่างกันตามช่วงระยะเวลาที่มีการระบาด เช่น
การระบาดระลอกแรก พบการแพร่กระจายจากกลุ่มชาวต่างชาติ จึงได้มีการแบ่งกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง กลุ่มที่มีความเสี่ยงจะถูกคัดกรองด้วยประวัติ คือ
- อาชีพที่ต้องสัมผัสกับชาวต่างชาติ
- ผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ
- ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ หรือประเทศที่มีความเสี่ยง
- ส่วนกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง ก็คือกลุ่มที่ไม่ได้มีการสัมผัสกับชาวต่างชาติกลุ่มนี้
การระบาดระลอกที่ 2-3 เป็นการระบาดในพื้นที่ชุมชนเป็นวงกว้าง จึงมีการจัดกลุ่มเป็นความเสี่ยง 3 กลุ่ม ได้แก่
-กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก คือกลุ่มที่มีประวัติเสี่ยง แบ่งออกเป็น
1.กลุ่มที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ซึ่งพื้นที่เสี่ยงก็คือ พื้นที่ที่มีการระบาด พื้นที่ที่มีการยืนยันผู้ป่วยโควิด19 เป็นวงกว้าง หรือที่เรียกว่าพื้นที่สีแดง
2. กลุ่มที่มีประวัติสัมผัสเสี่ยง คือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันโควิด19 ซึ่งการสัมผัสเสี่ยง คือ
- การสัมผัสบุคคลที่ยืนยันว่าเป็นโรคโควิด19 อย่างใกล้ชิด มีการทำกิจกรรมร่วมกันภายในระยะ 1 เมตรตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป และจะมีความเสี่ยงสูงยิ่งขึ้น หากไม่สวมหน้ากากอนามัย
- มีความใกล้ชิดอยู่ในครอบครัวเดียวกัน กับผู้ป่วยยืนยันโควิด19
- หรือโดยสารยานพาหนะเดียวกัน กับผู้ป่วยยืนยันโควิด19 เนื่องจากพื้นที่ของยานพาหนะคับแคบ ทำให้การไหลเวียนของอากาศไม่ดีพอ
- อยู่ในพื้นที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทร่วมกัน นานเกิน 15 นาที
ถ้ามีประวัติทั้ง 2 อย่างนี้ถือเป็นผู้ที่มีประวัติความเสี่ยงสูงมาก
คำแนะนำ >> สามารถขอเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด19 ตามสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลต่าง ๆ หรือกักตัวเองเพื่อรอดูอาการ 14 วันอย่างเคร่งครัด หากมีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หรืออ่อนเพลีย ให้รีบพบแพทย์ทันที
-กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ กลุ่มที่ไม่ได้เดินทางไปในพื้นที่สีแดง และไม่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันโควิด19 แต่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ ก็อาจจะมีโอกาสในการติดเชื้อเกิดขึ้นได้
คำแนะนำ >> ควรสังเกตอาการตัวเอง ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันไวรัสโควิด 19 อย่างเคร่งครัด เลี่ยงพื้นที่เสี่ยงและชุมชน
-กลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง คือ เป็นผู้ที่ไม่อยู่ หรือเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ไม่มีประวัติเสี่ยง และไม่มีอาการใด ๆ เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
ยกตัวอย่าง
หากนาย A เป็นผู้ป่วยยืนยันโควิด 19
นาย B พบปะพูดคุยกับ นาย A >> นาย B จะจัดเป็นผุ้สัมผัสเสี่ยงสูงมาก
ขณะที่ นาย C,นาย D, นาย E เป็นเพื่อนของนาย B แต่ไม่ได้เป็นพบปะโดยตรงกับนาย A นาย C,D,E จึงไม่ใช่ผู้ป่วยสัมผัสเสี่ยงสูง
เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เราเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมาก ควรปฎิบัติตัวตามมาตรการป้องกันโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะ, ล้างมือบ่อย ๆ เมื่อสัมผัสสิ่งแวดล้อมรอบตัว, เว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากบุคคลที่เราไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา