รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการนอนคว่ำ

การนอนคว่ำ ปกติแล้วไม่ได้ใช้แค่ผู้ป่วยโควิด-19 เท่านั้น แต่เป็นวิธีที่ใช้แพร่หลายทางการแพทย์มาแล้วกว่า 20 ปี โดยใช้กับผู้ป่วยกลุ่มหายใจลำบากเฉียบพลัน หรือภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ที่เรียกว่า Acute respiratory distress syndrome (ARDS) เช่น โรคปอดอักเสบ โรคไข้หวัดใหญ่ เพราะฉะนั้นการรักษาด้วยการนอนคว่ำไม่ใช่วิธีการรักษาแบบใหม่ แต่การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการนอนคว่ำมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง

ทำไมถึงต้องนอนคว่ำ

เนื่องจากปอดของคนเราจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน 1 ใน 3 จะอยู่บริเวณด้านหน้า และ 2 ใน 3 จะอยู่ด้านหลัง เวลาที่เรานอนหงายอวัยวะต่าง ๆ ด้านบนรวมถึงหัวใจ จะไปกดทับปอดส่วนที่ต่ำกว่าลงไป ในก็คือ ปอด 2 ใน 3 ที่อยู่ด้านหลัง ทำให้ปอดทำหน้าที่ได้ไม่ดี โดยเฉพาะเวลาที่นอนหงาย รวมถึงเลือดที่ไปเลี้ยงปอด ส่วนใหญ่จะส่งไปเลี้ยงปอดด้านหลังมากกว่า หากเกิดการกดทับ จะทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนภายในปอดทำได้ไม่ดี ดังนั้น การนอนคว่ำ จึงเป็นการลดการกดทับของปอด 2 ใน 3 ทำให้ปอดได้รับอากาศเพิ่มขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนภายในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น

การนอนคว่ำสำหรับผู้ป่วยโควิด

จะจำแนกผู้ป่วยออกเป็น 2 ระยะ

1. ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ยังสามารถหายใจได้ด้วยตนเอง

เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะออกซิเจนต่ำ อาจจะใช้เครื่องช่วยหายใจหรือไม่ใช้ก็ได้ แต่ถ้าใช้เครื่องช่วยหายใจจะยังไม่ถึงขั้นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ แพทย์จะรักษาโดยให้ผู้ป่วยนอนคว่ำหน้าท่า Awakening Prone หรือการนอนคว่ำตั้งแต่ยังรู้สึกตัว เป็นเวลา 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง เท่าที่ผู้ป่วยจะสามารถทำได้ และสังเกตการตอบสนองของผู้ป่วย จากนั้นให้ผู้ป่วยพลิกตัวเปลี่ยนท่าตะแคงซ้ายหรือขวา หรือนอนยกศีรษะขึ้นสูงเพื่อป้องกันแผลกดทับ การที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 นอนคว่ำแล้วอาการดีขึ้น เนื่องจากพยาธิสภาพในปอดของผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะอยู่ที่ปอดบริเวณด้านข้าง และด้านหลังเป็นส่วนใหญ่

ประโยชน์ต่อผู้ป่วย

  • เนื้อปอดส่วนหลังที่ถูกหัวใจกดกับขยายได้ดีขึ้น
  • ความยืดหยุ่นของปอดหรือการขยายตัวของ
  • ถุงลมปอดแต่ละส่วนดีกว่าการนอนหงาย
  • การแลกเปลี่ยนแก๊สของปอดดีขึ้น
  • การระบายเสมหะดีขึ้น

ท่านอนคว่ำที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ยังหายใจได้ด้วยตัวเอง

  • ตามมาตรฐาน ท่านอนคว่ำควรนอนเหมือนท่าว่ายน้ำ คือ แขนข้างนึง อยู่ข้างหลัง ข้างนึงอยู่ข้างหน้า หน้าหันไปทางข้างที่แขนอยู่ด้านหลัง หากรู้สึกว่าทนไม่ไหว ก็สามารถสลับข้างได้

2. ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีภาวะหายใจล้มเหลว

เป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจระดับสูง หรือผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองที่ดีเมื่อใช้เครื่องช่วยหายใจด้วยวิธีมาตรฐาน จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ รวมถึงต้องให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อให้ผู้ป่วยนอนคว่ำได้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 16 ชั่วโมง

ประโยชน์ต่อผู้ป่วย

  • ช่วยลดการบาดเจ็บหรืออักเสบของปอดจากการ
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนแก๊สของปอด
  • เป็นการรักษาเพื่อประดับประคองรอให้ปอด
  • ฟื้นตัวดีขึ้น

ข้อควรรู้

  • การนอนคว่ำเป็นการรักษาแบบประดับประคองเท่านั้น ไม่ใช่การรักษาให้หายขาดแต่อย่างใด
  • การรักษาผู้ป่วยกลุ่ม ARDS ด้วยการนอนดต้องใช้เจ้าหน้าที่อย่างน้อย 5 คน ในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การพลิกตัว การตรวจสอบอุปกรณ์ และการตรวจสอบความดันโลหิต

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่มีอาการปอดอักเสบ สามารถใช้วิธีการรักษาด้วยการนอนคว่ำได้ไหม

  • การนอนคว่ำจะช่วยในกรณีที่ออกซิเจนต่ำ ซึ่งจะทำให้ระดับออกซิเจนสูงขึ้น คนที่ออกซิเจนปกติ การนอนคว่ำก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร

 

ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
 02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

 

Line