กินตามใจปาก..ระวังเส้นเลือดตีบตัน

พฤติกรรมการกินที่ไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดหลายโรคร้ายตามมา บางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะการกิจอาหารหวาน มัน เค็มที่มากเกินไป ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือด จนนำไปสู่โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด นับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก จากสถิติพบว่าทุก ๆ 2 วินาทีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ 1 คน

มารู้จักไขมันในร่างกายของเรากันก่อน

ไขมันในร่างกายของคนเราจะแบ่งออกเป็น

1. คอเรสเตอรอล (Cholesteral) อาจจะมีค่าสูงขึ้นจากอาการที่เราทาน เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม เนื้อสัตว์ติดมัน และอาหารทะเล โดยเฉพาะไขมันทรานส์ ที่มักจะเป็นส่วนประกอบของขนมคบเคี้ยว หรือเบเกอรี่ต่าง ๆ หรือผู้ป่วยบางคน อาจจะมีระดับคอเรสเตอรอลสูงจากกรรมพันธุ์ โดยคอเลสเตอรรอลจะแบ่งออกเป็น

  • คอเลสเตอรอลชนิดร้าย หรือ แอลดีแอล (LDL-Low Density Lipoprotein) เป็นไขมันอันตราย ที่จะสะสมในผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบ แข็ง ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  หรือหลอดเลือดสมองตีบ ไขมันชนิดนี้ร่างกายสร้างขึ้นเองส่วนหนึ่ง และมาจากอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์
  • คอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ เอชดีแอล (HDL-Hig Density Lipopeotien Cholesterol, HDL-C) ทำหน้าที่กำจัดไขมันอันตรายออกไปจากกระแสเลือด ต่อต้านการสะสมไขมันผิดที่ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพราะฉะนั้นค่า HDL ยิ่งสูงยิ่งดีต่อร่างกาย

2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) อาจมีระดับสูงขึ้นจากโรคบางอย่าง โรคอ้วน เบาหวาน การดื่มสุรา หรือการได้รับยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน หรือสเตียรอยด์

เมื่อไหร่ที่มีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป ไขมันจะไปเกาะตามผนังด้านในของหลอดเลือด ถ้ทำห้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายไม่สะดวก เมื่อนานวันขึ้นอาจเกิดการอุดตันของเลือด โดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญ เช่น หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวายและเสียชีวิต เฉียบพลัน หรือ ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่สมองทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หากไม่หาทางป้องกันแก้ไขภาวะไขมันในเลือดสูง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆมากมาย

กินตามใจปากอาจทำให้เกิดไขมันในเลือดสูง

 

ภาวะไขมันในเลือดสูง เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. กรรมพันธุ์ผู้ที่มีประวัติพ่อแม่หรือญาติมีไขมันในเลือดสูง
  2. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ อาหารทอด เนื้อติดมัน
  3. การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานเกินความต้องการของร่างกาย เพราะจะเกิดความสะสมในรูปของไขมัน
  4. โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ และโรคของต่อมหมวกไตบางอย่าง, โรคตับ โรคไตบางชนิด, ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ(ยาคุมกำเนิด) เป็นต้น
  5. การดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากเป็นประจำทำ ให้มีการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อมากขึ้น เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง
  6. ภาวะขาดการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายใช้พลังงานน้อย

อะไรคือปัจจัยเสี่ยงระดับไขมันในเลือดสูง

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าไขมันในเลือดสูงหรือเปล่า

คุณหมอสามารถประเมินว่าไขมันในเลือดมีปริมาณที่ผิดปกติหรือเปล่า โดยการเจาะเลือดตรวจ

ค่าปกติของไขมันในเลือด

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) :

  • ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 200 mg/dL
  • สูงปานกลาง: 200 – 239 mg/dL
  • สูง: มากกว่า 240 mg/dL

LDL คอเลสเตอรอล: คือ ไขมันที่ความหนาแน่นต่ำ เป็นคอเลสเตอรอลหรือไขมันชนิดไม่ดี ส่งผลเสียต่อร่างกายและต้องถูกควบคุมไม่ให้สูงเกินไป หากมีมากเกินไปจะเข้าไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบและแข็ง ทำให้เกิดภาวะโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้

  • ระดับที่ต้องการสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงสูง: ต่ำกว่า 70 mg/dL
  • ระดับที่ต้องการ for people at risk of heart disease: ต่ำกว่า 100
  • ระดับที่ต้องการ: 100 – 129
  • สูงปานกลาง: 130 – 159
  • สูง: 160 – 189

HDL คอเลสเตอรอล: เป็นคอเลสเตอรอลชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นไขมันชนิดดี ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากตับ ช่วยทำหน้าที่ในการขจัดคอเลสเตอรอล หรือไขมันชนิดไม่ดีที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือด

  • ผลไม่ดี: ต่ำกว่า 40 mg/dL
  • ค่าที่ยอมรับได้: 40 – 59
  • ระดับที่ต้องการ: 60 or สูงกว่า

ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) :

  • ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 150 mg/dL
  • สูงปานกลาง: 150 – 199
  • สูง:สูงกว่า 200

ผู้ใหญ่ที่ค่าไขมันปกติควรจะตรวจซ้ำทุก 5 ปี หากไขมันในเลือดสูงควรตรวจซ้ำอีก 2-6 เดือน

ใครควรตรวจวัดระดับไขมัน

  1. ผู้ชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  2. ผู้หญิงทีมีอายุ 55 ปีขึ้นไป หรือเมื่อหมดประจำเดือน
  3. ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดตีบ
  4. ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลก์ฮอลล์เป็นประจำ
  5. ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  6. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่ 2
  7. ประวัติพ่อแม่พี่หรือน้องเป็นโรคหลอดเลือดก่อนวัย
  8. เป็นโรคเรื้อรังบางชนิดที่พบว่าอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสูง เช่น โรครูมาตอยด์ โรค SLE Psoriasis
  9. ผู้ที่ไตเสื่อมอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 60
  10. คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไขมันในเลือดสูง

ใครควรตรวจวัดระดับไขมัน

ไม่อยากให้ไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  และอย่าลืม ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูระดับไขมันในเลือด เป็นการป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับร้างกายของเราครับ

ฉุกเฉินโรคหัวใจ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line