การตรวจการทำงานของตับ

ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ และมีหน้าที่ในการสร้างสาร ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เช่น สารห้ามเลือด น้ำตาล โปรตีน ภูมิคุ้มกัน และยังทำหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย การเจาะเลือดโดยทั่วไปเพื่อดูว่าตับมีการอักเสบหรือไม่ โดยแพทย์จะสั่งตรวจการทำงานของตับในกรณีตรวจร่างกายประจำปี หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือ บวมตามร่างกาย

เอนไซม์ตับที่สำคัญ SGOT & SGPT

  • SGOT เป็นเอนไซม์ที่พบในตับ ไต กล้ามเนื้อ หัวใจ (ค่าปกติไม่เกิน 49 mg/dl)
  • SGPT เป็นเอนไซม์ที่พบมากในตับ พบน้อยในกล้ามเนื้อ หัวใจ ตับอ่อน (ค่าปกติไม่เกิน 49 mg/dl)

ระดับเอนไซม์ SGPT จะมีความสำคัญ และมีความจำเพาะในการประเมินโรคตับมากกว่าเอนไซม์ SGOT ซึ่งอาจสูงจากสาเหตุอื่น เช่น การออกกำลังกายมากเกินไป

เมื่อตับเกิดการถูกทำลาย หรือมีการอักเสบของเนื้อตับ จะหลั่งเอนไซม์ SGOT, SGPT ออกมาสู่กระแสเลือด ทำให้ตรวจพบว่ามีระดับสูงขึ้นมากกว่าปกติ และสามารถตรวจพบได้ไวมาก โดยระดับ SGPT จะมีความสำคัญ และมีความจำเพาะมากกว่า แต่เนื่องจากเป็นการตรวจที่มีความไวมาก จึงอาจพบผลผิดปกติได้เล็กน้อยในคนทั่วไป จึงควรมีการกรองผล ดังนี้

  1. ค่า SGOT, SGPT ที่สูงกว่าปกติ ไม่มากกว่า 1.5 เท่า อาจพบได้ในคนปกติ เพราะฉะนั้น ความผิดปกติเล็กน้อยในผู้ที่ไม่มีอาการ อาจไม่มีความสำคัญ หากตรวจพบค่า SGOT, SGPT ที่สูงกว่าค่าปกติ เกิน 1.5 เท่า ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
  2. ค่า SGOT, SGPT อาจจะสูงกว่าปกติในคนที่อ้วน เนื่องจากคนอ้วนมักจะมีไขมันเกาะที่ตับ ซึ่งพบว่าเมื่อน้ำหนักลดลง ค่า SGOT และ SGPT ก็จะลดลง
โรคที่ทำให้ค่า SGOT, SGPT สูง ได้แก่

  • ตับอักเสบจากไวรัส
  • ตับอักเสบจากการดื่มสุรา
  • ตับอักเสบจากยา หรือสมุนไพร
  • เนื้องอกในตับ
  • ไขมันพอกตับ
นอกเหนือจากค่า SGOT และ SGPT ที่สามารถบ่งบอกความผิดปกติที่ตับแล้ว ยังมีการตรวจที่ช่วยบ่งชี้ความผิดปกติของตับเพิ่มเติม ได้แก่

Alkaline Phosphatase (ALP) เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในหลายอวัยวะ แต่พบมากในตับ ท่อน้ำดี และในกระดูก และเนื่องจากตับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด ค่า ALP ที่สูงขึ้น จึงสามารถบ่งชี้ความผิดปกติของตับได้ เช่น โรคมะเร็งตับ (Hepatic tumor) ตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ค่า ALP อาจสูงขึ้นได้ในบางกรณีอื่นๆที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ในสตรีตั้งครรภ์ หรือผู้ที่ได้รับยาบางชนิด รวมถึงความผิดปกติที่อวัยวะส่วนอื่น เช่น โรคเกี่ยวกับกระดูก ต่อมไทรอยด์ ท่อน้ำดี และภาวะร่างกายขาดวิตามินดี

Alphafetoprotein (AFP) ในรายที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์จะพิจารณาส่งตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งที่ตับ ได้แก่

  • มีประวัติโรคตับแข็ง
  • โรคตับอักเสบเรื้อรัง
  • กลุ่มทตรวจพบ HBsAg
  • กลุ่มที่มีโรคมะเร็งตับในครอบครัว

 

ต้องการตรวจสุขภาพ
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
 02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line