คำแนะนำอาการที่พบจากการตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์

การตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์

 

  1. ความดันโลหิตต่ำ
  2. ความดันโลหิตสูง
  3. ตา
  4. ทอนซิล
  5. ไทรอยด์
ความรู้ทั่วไปและความผิดปกติที่พบบ่อยจากการตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์

 

  • อาการ – ตรวจร่างกายพบไทรอยด์โต
  • คำแนะนำ – ตรวจร่างกายพบแพทย์ไทรอยด์โต ควรตรวจร่างกายซ้ำอีกครั้งและเจาะเลือดหาหน้าที่ของต่อมไทรอยด์
  • อาการ – ต้อเนื้อ
  • คำแนะนำ – ต้อเนื้อเป็นความเสื่อมของเยื่อบุตาขาว ทำให้ยื่นเข้ามาในตาดำ ถ้ารบกวนการมองเห็นหรืออักเสบบ่อยๆต้องทำการรักษาถ้ามีปัญหาปรึกษาจักษุแพทย์ ไม่ควรวิตกกังวล การป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้นโดยใส่แว่นกันแดด หรือป้องกันไม่ให้มีฝุ่น แดด ลม เข้าตาบ่อยๆ
  • อาการ – ปวดศรีษะ
  • คำแนะนำ – ปวดศีรษะ ถ้ามีอาการเป็นบ่อยๆเป็นเวลานานหลายเดือนหรือเป็นปีและมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆควรได้รับปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
  • อาการ – ปวดหลัง
  • คำแนะนำ – ปวดหลัง มักเกิดจากจากโรคของกล้ามเนื้อมีอาการเกร็งอักเสบแต่ถ้ามีอาการปวดร้าวแปลบร้าว ปลายๆขาควรได้รับคำแนะนำและปรึกษาแพทย์
  • อาการ – ฟันผุ
  • คำแนะนำ – ฟันผุ ควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
  • อาการ – ภูมิแพ้หรือแพ้อากาศ 
  • คำแนะนำ – ภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบบ่อยมากชนิดหนึ่ง เกิดจากร่างกายมีปฏิกริยาตอบสนองไวเกินต่อสิ่งกระตุ้นมากเกินไปทำให้มีอาการเช่น ไอ จาม น้ำมูกหรือมีผื่นคันได้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ หรือทานยาแก้แพ้ถ้ามีอาการ หรือทานยาแก้แพ้ถ้ามีอาการมากหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ไม่ได้ถ้ามีปัญหาควรปรึกษาแพทย์
  • อาการ – มีประวัติไซนัสอักเสบ
  • คำแนะนำ – เป็นโรคโพรงอากาศของช่องทางเดินหายใจบริเวณกระโหลกศรีษะติดเชื้อ อาจทำให้มีอาการปวดศรีษะเรื้อรัง มีน้ำมูกเป็นหวัดเรื้อรัง ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ควรปรึกษาแพทย์
  • อาการ – มีประวัติโรคกระเพาะ
  • คำแนะนำ – ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ความเครียด งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา-แอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ตรงเวลา ควรพักผ่อนต่อเนื่อง 1-2 เดือนจนโรคหายขาด ถ้ามีอาการถ่ายเป็นสีดำหรืออาเจียรเป็นเลือดควรปรึกษาแพทย์
  • อาการ – มีประวัติโรคความดันโลหิตสูง 
  • คำแนะนำ – มีประวัติโรคโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคประจำตัวควรวัดความดันและรับประทานยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอต้องพบแพทย์ตามนัดหมายไม่ควรหยุดทานยาเอง งดสูบบุหรี่ งดทานเค็ม ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน 3ครั้ง/อาทิตย์
ความรู้ทั่วไปและความผิดปกติที่พบบ่อยจากการตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์

 

  • อาการ – มีประวัติโรคเบาหวาน
  • คำแนะนำ – มีประวัติโรคโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคประจำตัวควรวัดความดันและรับประทานยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอต้องพบแพทย์ตามนัดหมายไม่ควรหยุดทานยาเอง งดสูบบุหรี่ งดทานเค็ม ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน 3ครั้ง/อาทิตย์
  • อาการ – มีประวัติโรคไมเกรน 
  • คำแนะนำ – ไมเกรนเป็นอาการปวดศรีษะเรื้อรังชนิดหนึ่งโดยมีความเครียดภาวะการเจ็บป่วยเป็นตัวกระตุ้นมักมีอาการปวดหัวซีกเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นถ้ามีอาการมากหรือเป็นบ่อยๆ ควรทานยาป้องกันโดยปรึกษาแพทย์
  • อาการ – มีประวัติโรคเลือดธาลาสซีเมีย
  • คำแนะนำ – โรคเลือดธาลาสซีเมีย เป็นโรคประจำตัวชนิดหนึ่งอาจทำให้มีอาการซีดตับม้ามอาจผิกปกติ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ สมควรได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตนเพิ่มเติม พร้อมทั้งการวางแผนก่อนจะมีบุตร เพื่อป้องกันโรคต่อไป
  • อาการ – มีประวัติโรคไวรัสตับอักเสบบี
  • คำแนะนำ – มีประวัติไวรัสตับอักเสบบี ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงของมึนเมา หรือสงสัยมีเชื้อรา ควรตรวจหน้าที่ของตับ ปีละ 1-2 ครั้ง และควรพาครอบครัวของท่านไปตรวจเลือดเพื่อการป้องกันโรคนี้ต่อไป
  • อาการ – มีประวัติโรคหอบหืด 
  • คำแนะนำ – มีประวัติโรคหอบหืด เป็นโรคของหลอดลมหดตัวทำให้ทางเดินหายใจตีบตัน ถือเป็นโรคประจำตัวชนิดหนึ่งสาเหตุมักเกิดจากการกระตุ้น โดยภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจ ควรทานยาขยายหลอดลม ตามแพทย์กำหนดอย่างสม่ำเสมอ แต่คนที่เป็นโรคนี้จำนวนหนึ่งจะหายได้เองเมื่ออายุมากขึ้น
  • อาการ – โลหิตจาง
  • คำแนะนำ – โลหิตจางคือระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติอาจเกิดจากโรคได้หลายชนิด เช่น การเสียเลือดในรูปแบบต่างๆเช่นริดสีดวง เลือดออกในกระเพาะอาหาร มีประจำเดือนมากอาจทำให้เกิดจากโรคเลือด เช่นทาลัสซีเมีย โรคไขกระดูก หรือขาดธาตุเหล็กในอาหารก็ได้ควรปรึกษาแพทย์
  • อาการ – คออักเสบ , ต่อมทอนซิลโต / อักเสบ
  • คำแนะนำ – การอักเสบภายในลำคอและต่อมทอนซิล มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ถ้ามีไข้และเจ็บคอ ควรพักผ่อน และดื่มน้ำมากๆ ถ้ามีไข้สูงให้เช็ดตัว ทานยาลดไข้ ทานยาปฎิชีวนะ ถ้ามีอาการไม่ดีขึ้นควร
    พบแพทย์ ในกรณีเป็นปีละหลายๆ ครั้ง  (มากกว่า 4 ครั้ง/ปีขึ้นไป)  แพทย์อาจให้การรักษาโดยการผ่าตัดต่อมทอนซิลออก  ( tonsillectomy)
ความรู้ทั่วไปและความผิดปกติที่พบบ่อยจากการตรวจเอกซเรย์ทรวงอก

 

  • อาการ – จุดในปอด
  • คำแนะนำ – จุดในปอด เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น วัณโรคปอด ปอดอักเสบมีเนื้องอกในปอด  โรคปอด-จากฝุ่น  (แร่)  ฯลฯ หรือ อาจเป็นจุดจากรอยโรคที่หายแล้ว ถ้าไม่เคยมีประวัติมาก่อน ควรนำฟิล์มไปพบแพทย์
  • อาการ – รอยอักเสบในปอด
  • คำแนะนำ – เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วัณโรคปอด, ปอดติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส ฯลฯ ควรนำฟิล์มไปพบแพทย์
  • อาการ – วัณโรคปอด
  • คำแนะนำ – วัณโรคปอด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไมโคแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิสติดต่อโดยสูดละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคเข้าไปในปอด อาการสำคัญ คือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ไอ เจ็บหน้าอก หรือ อาจไม่มีอาการในรายที่เป็นน้อยๆ ถ้าหากตรวจพบต้องรีบทำการรักษาและควบคุมโรคไม่ให้ติดต่อคนอื่น
  • อาการ – ผังผืดหรือจุดหินปูนในปอด
  • คำแนะนำ – แสดงถึงรอยโรคเก่าที่เคยเป็น แต่หายแล้ว ไม่ต้องทำการรักษาอีก
  • อาการ – เยื่อหุ้มปอดหนา
  • คำแนะนำ – ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะปอดอักเสบเก่า ไม่ต้องรักษา
  • อาการ – หัวใจโต
  • คำแนะนำ – พบบ่อยในผู้สูงอายุซึ่งอาจไม่มีอันตราย แต่ควรพิจารณาสาเหตุอื่น เช่น โรคความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจซึ่งควรปรึกษาแพทย์
  • อาการ – กระดูกสันหลังคด
  • คำแนะนำ – อาจทำให้มีอาการปวดหลัง เรื้อรังได้

ต้องการตรวจสุขภาพ
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
 02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line