ปัจจุบันผู้ป่วยโควิด19 มีทั้งแบบที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ และเริ่มมีอาการหลากหลายมากขึ้น จะสังเกตยังไงว่าแบบไหนถึงเป็นโควิด รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขมรวมรวมข้อมูลเพื่อให้ทุกคนสังเกตอาการตัวเองให้ครบทุกมิติ เพื่อที่จะระวัง ป้องกัน และรักษาได้ทัน
เริ่มต้นอาการโควิด19 จะเป็นความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นหลังจากที่รับเชื้อภายใน 2-14 วัน ค่าเฉลี่ยของผู้ที่แสเงอาการจะแสดงอาการหลังจากรับเชื้อประมาณ 5 วัน อาการที่แสดงอาจจะมี
- มีไข้สูง ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- มีอาการของระบบทางเดินหายใจ + อาการร่วมอื่น ๆ เช่น
- จาม คัดจมูก มีน้ำมูก
- แสบคอ เจ็บคอ
- ไอ ทั้งแบบมีเสมหะ และไม่มีเสมหะ หรือไอแห้ง ๆ
- ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
- บางรายอาจมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
- สูญเสียการรับรส หรือรับกลิ่น ทำให้จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส
โดยสามารถแบ่งอาการของผู้ป่วยออกได้เป็น
ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการเบา หรือมีอาการไม่มาก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดประมาณ 81%
- มีไข้ต่ำ ๆ ส่วนใหญ่จะประมาณ 37.5 องศาเซลเซียส
- มีอาการไอแห้ง ๆ อ่อนเพลีย
- อาจจะมีอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย เป็นต้น
- การรับรู้เกี่ยวกับกลิ่น รส ผิดปกติ เช่น อาจจะจมูกไม่ได้กลิ่น หรือ ลิ้นไม่รับรส
- นอกจากนี้ยังมีอาการใหม่ของไวรัสโควิด19 ที่ต้องสังเกต สำหรับกลุ่มผู้ที่ไม่มีอาการ หรือผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย อาจจะมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ บางรายอาจจะมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง มีอาการตาแดง
การรักษาสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก >> อยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น อาจจะเข้าพักที่โรงพยาบาลสนาม Hospitel โดยเน้นให้พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เยอะ กินน้ำให้มาก ทานยาลดไข้ ยาพาราเซตามอลได้ กินวิตามินซี ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์
ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการปานกลาง ซึ่งกลุ่มนี้มักพบผู้ป่วยอยู่ที่ประมาณ 14%
- มีไข้มากกว่า 37 องศาเซลเซียส
- มีอาการไอมากขึ้น อ่อนเพลียมากขึ้น
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากขึ้น
การรักษาสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง >> อยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น อาจจะเข้าพักที่โรงพยาบาลสนาม Hospitel หรือพักรักษาตัวในโรงพยาบาลขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์ เน้นให้พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เยอะ กินน้ำให้มาก ทานยาลดไข้ ยาพาราเซตามอลได้ กินวิตามินซี ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งจะคล้ายกับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการไม่มาก
ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการหนัก จะพบผู้ป่วยประมาณ 5%
- มีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
- มีอาการไอมากขึ้น อาจมีอาการหอบ เหนื่อย
- หายใจลำบาก การสูดลมหายใจเข้าออกทำได้ยากขึ้น
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
- มีอาการสับสน
- ริมฝีปากอาจมีสีม่วงคล้ำ จากการขาดออกซิเจน
- อาจมีภาวะช็อค
การรักษาสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหนัก >> ต้องเข้ารับการรักษาตัวภายในโรงพยาบาล คุณหมออาจจะพิจารณาให้การรักษาตามอาการ เช่น รักษาโดยการให้สารน้ำ ให้ออกซิเจน ให้สเตียรอยด์ ให้ยาต้านไวรัส หรือใช้เครื่องช่วยหายใจในบางราย ซึ่งจะต้องดูอาการอย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 3-6 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
โควิด19 กับไข้หวัดใหญ่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
อาการของโควิด19 ตั้งแต่วันที่ 1-5 มักจะมีอาการแสดงคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกเพลีย ๆ อาจจะมีเจ็บคอ หรือมีน้ำมูกบ้าง แต่พอหลังจากวันที่ 5 ผู้ป่วยที่เป็นโควิด19 จะเริ่มมีอาการที่ผิดปกติมากกว่าไข้หวัดใหญ่ คือ จะรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นผิดปกติ หรือหอบมากขึ้น บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย
ไข้หวัดทั่วไป
- มีไข้ 3-4 วันแต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น
- ไอ จามเล็กน้อย 3-4 วันจะค่อย ๆ ดีขึ้น
- ไม่มีอาการท้องเสีย
- คัดจมูก น้ำมูกไหล
- อ่อนเพลีย ปวดตามตัว
ไวรัสโควิด19
- มีไข้สูง ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ นานเกิน 4 วัน
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายใจลำบาก
- มีอาการปอดอักเสบ
- ปวดเมื่อยตามตัว ทานข้าวไม่ค่อยได้
เพราะฉะนั้นหากรู้สึกผิดปกติ เช่นมีไข ไอ จามติดต่อกันหลายวัน หรือพบปะใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ที่เดินทางไปสถานที่เสี่ยง สังเกตอาการหากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา