วันวิ่งโลก

วันวิ่งโลก Global Running Day หรือรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า National Running Day คือวันที่เฉลิมฉลองกีฬาวิ่งในระดับนานาชาติ โดยกำหนดให้วันพุธแรกของเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็น “วันวิ่งโลก” โดยทางสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ หรือ IAAF เกิดความคิดริเริ่มที่อยากให้ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกเพศทุกวัย สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนออกมาเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกาย ซึ่งมีการเปิดตัววันวิ่งสากลโลกครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2016 มีผู้เข้าร่วมถึง 2.5 ล้านคน รวมทั้งสิ้น 177 ประเทศทั่วโลก และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมวิ่งได้ ไม่มีการแบ่งแยกเพศ อายุ น้ำหนัก และส่วนสูงใด ๆ ทั้งสิ้น

การวิ่งดีอย่างไร?

การออกกำลังกายหรือ Exercise คือการเคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ถือเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด แต่มีข้อดีต่อสุขภาพอย่างชัดเจน และมีประโยชน์กับร่างกายแทบจะทุกส่วน

  • ทำให้มีการใช้พลังงานหรือเผาผลาญพลังงานเพิ่มมากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มระดับของคอเลสเตอรอลที่ดี และช่วยยกระดับการทำงานของปอด และช่วยร่างกายใช้งานปอดได้ดีขึ้น
  • ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ,ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง,ความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวาน,โรคไขมันในเลือดสูง,โรงมะเร็ง,ลดความเครียด ฯลฯ สำหรับผู้หญิง การวิ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย
  • ความแข็งแรงให้กับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อต่าง ๆ จะมีความแข็งแรงมากขึ้น ลดภาวะกระดูกพรุน
  • ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • เพิ่มความมั่นใจ การวิ่งเป็นการช่วยกระตุ้นความมั่นใจ ความนับถือตัวเอง ด้วยการตั้งเป้าหมายอย่างมีวินัย
  • บรรเทาความเครียด เมื่อคุณวิ่งร่างกายจะใช้พลังงานและฮอร์โมนส่วนเกิน จึงช่วยลดอาการปวดหัวจากความเครียดได้
  •  สุขภาพใจดีขึ้น ได้อยู่กับตัวเอง มีสมาธิมากขึ้น การทำงานดีขึ้น การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ก็จะดีขึ้นด้วย

กิจกรรมวิ่งเหมาะกับใครบ้าง?

เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย สามารถใช้การวิ่งเป็นกิจกรรมสร้างเสริมการออกกำลังกายได้ เพียงแต่ต้องกำหนดเวลา และระยะทางการวิ่งให้เหมาะสมตามสภาพร่างกาย เช่น กลุ่มช่วงวัยเด็ก ควรวิ่งในระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อกำหนด ระยะเวลา และรูปแบบการวิ่งให้พอเหมาะกับความสมบูรณ์ของร่างกาย

วิ่งอย่างไรให้ปลอดภัย

1. ควรกำหนดเป้าหมายในการวิ่ง

เนื่องจากการวิ่งนั้นไม่ว่าคนในกลุ่มใดก็มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ อาการบาดเจ็บ และ อาการหัวใจหยุดเต้นได้ อันเนื่องมาจากการวิ่งที่หนักเกินกำลังร่างกาย ขาดการฝึกฝนฝึกซ้อมที่สม่ำเสมอ และกลุ่มที่ไม่ทราบว่าตนเองป่วย หรือมีโรคประจำตัว ดังนั้นการกำหนดเป้าหมายในการวิ่งให้ชัดเจน จึงมีส่วนช่วยในการกำหนดการฝึกซ้อม และการเตรียมสภาพร่างกาย

  • กลุ่มคนที่วิ่งเพื่อสุขภาพ วิ่งไม่หนักมากนัก สามารถสังเกตอาการเจ็บป่วยได้ด้วยตนเอง และควรเริ่มวิ่งอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ เพิ่มระยะทาง ระยะเวลาตามความพร้อม และความสบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
  • กลุ่มคนที่ต้องการวิ่งเพื่อการแข่งขันหรือวิ่งในระดับอาชีพ ที่ต้องการพัฒนาการวิ่งของตนเองให้มีระดับสูงขึ้น วิ่งได้เร็วขึ้น นอกจากการฝึกซ้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสม่ำเสมอแล้ว ควรได้รับการตรวจเช็คสภาพร่างกายก่อน เพื่อดูว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือโรคประจำตัวอะไรหรือไม่
  • กลุ่มคนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว โรคความดันเลือด โรคหัวใจ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก และข้อต่อ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อกำหนดรูปแบบและระยะเวลาที่เหมาะสม

2. ควรอบอุ่นร่างกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังวิ่งทุกครั้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น

3. ประเมินตัวเอง และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ไม่ควรฝืนร่างกาย หรือหักโหมมากจนเกินไป

4. ไม่ควรวิ่งหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ควรพักอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงก่อนวิ่ง

5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนวิ่ง

6. ดื่มน้ำให้เพียงพอ ควรดื่มน้ำทุก 15-20 นาที และไม่ดื่มมากจนเกินไป

7. ไม่ควรวิ่งกลางแจ้ง ในช่วงที่อากาศร้อนมากกว่า 35 องศาเซลเซียส

8. หากจะไปร่วมรายการวิ่งต่าง ๆ ควรเลือกรายการวิ่งที่ได้มาตรฐานในด้านความปลอดภัยของเส้นทางและความพร้อมด้านการแพทย์

9. เลือกรองเท้าสำหรับวิ่ง ต้องเหมาะกับรูปเท้า ฝ่าเท้าและมีการรองรับการกระแทก

 

เพราะเรื่องกระดูกและข้อ รอไม่ได้
ปล่อยไว้เรื้อรัง อาจรักษายาก
ติดต่อศูนย์กระดูกและข้อ
02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

Line