เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยโควิด19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งต่อให้ผู้ป่วยโควิด19 เข้ารับการรักษาได้ตรงตามอาการ แก้ปัญหาเตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ จึงได้แบ่งผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการดังนี้
ผู้ป่วยโควิด19 กลุ่มสีเขียว
เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เช่น มี ไข้ ไอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส ตาแดง ผื่นขึ้น หรือถ่ายเหลว รวมถึงกลุ่มจากการตรวจคัดกรองเชิงรุก Active Case Finding กลุ่มสีเขียวจะถูกส่งไปยัง Hospitel
ผู้ป่วยโควิด19 กลุ่มสีเหลือง
- ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว
- ผู้ที่มีความเสี่ยง/ โรคร่วมที่สำคัญ ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1. อายุ 60 ปีขึ้นไป
2. เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (รวมโรคปอดอื่นๆ)
3. โรคไตเรื้อรัง
4. โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด)
5. โรคหลอดเลือดสมอง
6. โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
7. โรคอ้วน มีน้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม
8. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคตับแข็ง
9. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms)
ซึ่งผู้ป่วยโควิด 19 ในกลุ่มสีเหลือง จะถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยโควิด19 กลุ่มสีแดง
- ผู้ที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก X-Ray พบปอดอักเสบรุนแรง
- มีภาวะปอดบวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง (Exercise – induced Hyoixemia)
- ผู้ป่วยในกลุ่มสีแดงถือเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล บางรายอาจจะต้องรักษาตัวในห้อง ICU หรือใส่เครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยในกลุ่มสีแดงถือเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล บางรายอาจจะต้องรักษาตัวในห้อง ICU หรือใส่เครื่องช่วยหายใจ
เมื่อไหร่ที่แพทย์ถึงพิจารณาให้ผู้ป่วยโควิด19 กลับบ้านได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นและภาพรังสีปอดไม่แย่ลง
- อุณหภูมิไม่เกิน 37.8°C ต่อเนื่อง 24 ถึง 48 ชั่วโมง
- อัตราการหายใจ หรือ Respiratory rate ปกติ คือ ไม่เกิน 20 ครั้ง/นาที
- ความอิ่มตัวของออกซิเจน มากกว่า 96% ขณะพัก
คำแนะนำในการปฏิบัติตนเมื่อผู้ป่วยโควิด19 ออกจากโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel หลังแพทย์พิจารณาให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน
- แพทย์อาจจะแนะนำให้กักตัวต่อ 14 วัน หรือไม่จำเป็นต้องกักตัวหรือแยกตัวจากผู้อื่น เนื่องจากหายจากโรคแล้ว (ซึ่งต่างจากกรณีเป็นผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง หรือเพิ่งจะได้รับการวินิจฉัย บุคคลเหล่านี้ยังอยู่ในระยะแพร่เชื้อ จึงต้องกักตัวหรือแยกตัวจากผู้อื่น) ซึ่งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำแล้วแต่กรณี
- การดูแลสุขอนามัย ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ป็นประจำ
- แยกอุปกรณ์รับประทานอาหารและแก้วน้ำ ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
- ดื่มเยอะ ๆ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และมีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
- หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่ สะดวก เบื่ออาหาร ให้ติดต่อสถานพยาบาล หากต้องเดินทางมาสถานพยาบาล ให้สวมหน้ากาก ระหว่างเดินทางตลอดเวลา
บทความที่เกี่ยวข้อง
- 7 กลุ่มโรคประจำตัวเตรียมตัวรับวัคซีนโควิด19
- ฉีดวัคซีนโควิด 19 ต้องเตรียมตัวอย่างไร
- ผลข้างเคียงโควิด 19 ที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา