อยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วยโควิด-19 ทำอย่างไรถึงไม่ติด

หากที่บ้านมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่กำลังรอเตียง หรือต้องทำ Home Isolation กักตัวที่บ้านเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโควิด-19 จะต้องทำอย่างไร เนื่องจากการติดเชื้อในบ้าน กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องให้ความสนใจอย่างมาก เพราะหากยับยั้งไม่ได้ จะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

เบื้องต้นควรแบ่งคนในบ้านออกเป็น 3 กลุ่ม

  1. ผู้ป่วยโควิด-19
  2. ผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อลดการสัมผัสกับเชื้อโรค ควรมอบหมายให้สมาชิก 1 คนในบ้านเป็นผู้ติดต่อกับผู้ป่วย โดยสมาชิกท่านนั้นต้องไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงสูง และมีการติดต่อกับบุคคลภายนอกน้อยที่สุด
  3. สมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้าน

สิ่งที่ต้องทำ

1. จำกัดการติดต่อกับผู้ป่วย

  • แยกตัวผู้ป่วยออกจากสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้าน
  • แยกห้องนอน หากไม่สามารถแยกห้องนอนได้ ควรสร้างพื้นที่อาณาเขตของผู้ป่วย อาจจะจัดพื้นที่ให้อยู่มุมใดมุมหนึ่งของห้อง ให้ห่างจากคนอื่น ๆ 1-2 เมตร หากพื้นที่เล็กมากจริง ๆ ก็ขอให้ห่างมากที่สุดเท่าที่จะห่างได้ และพื้นที
  • นอนของผู้ป่วยควรอยู่ใกล้ห้องน้ำ เพื่อความสะดวก และไม่ต้องเคลื่อนย้ายมาก ป้องกันการเดินปะปนในพื้นที่ส่วนกลาง
  • สร้างอาณาเขตที่ชัดเจนให้กับผู้ป่วย เช่น เพิ่มฉากกั้น
  • แยกรับประทานอาหาร
  • แยกขยะติดเชื้อ
  • แยกซักเสื้อผ้า และเช็ดทำความสะอาดตระกร้าเสื้อผ้าที่ใส่แล้วด้วยแอลกอฮอล์ 70%
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย เช่น โทรศัพท์
  • แยกห้องน้ำ หากแยกห้องน้ำไม่ได้ ให้ผู้ป่วยใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และต้องทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำทุกครั้งหลังใช้ โดยเฉพาะอ่างล้างหน้า และจุดสัมผัสต่าง ๆ  หรืออาจจะแยกพื้นที่ชัดเจน อ่างล้างหน้าในห้องน้ำ ให้เป็นของผู้ป่วย ส่วนอ้างล้างจานด้านนอก ปรับเป็นอ่างล้างหน้าของสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้านแทน เพื่อลดโอกาสในการแพร่เชื้อ รวมถึงการแยกสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในห้องน้ำอย่างชัดเจน เช่น ขันน้ำ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ ยาสระผม
  • เมื่อผู้ป่วยใช้ห้องน้ำ หากทำธุระเสร็จควรปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำทิ้ง
  • เมื่อผู้ป่วยเข้าห้องน้ำ และทำความสะอาดเรียบร้อย สมาชิกในบ้านท่านอื่นควรเว้นระยะการใช้งานครั้งต่อไปอย่างน้อย 30  นาที
  • เว้นระยะห่าง
  • งดการให้ผู้อื่นเข้าเยี่ยม
  • ผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น

2. ะบายอากาศ

  • เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทอยู่เสมอ
  • เปิดพัดลมดูดอากาศ
  • เปลี่ยนพัดลมตั้งพื้นเป็นพัดลมดูดอากาศ โดยเปิดพัดลมหันหน้าออกด้านนอกประตู หรือนอกระเบียง เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ ซึ่งเป็นการป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดสำหรับพื้นที่ร่ม
  • ระวังอย่าให้ผู้ป่วยอยู่ในจุดเหนือลม เพราะเมื่อมีการไอ หรือจาม พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ อาจทำให้เชื้อฟุ้งกระจายไปรอบห้องได้
  • หลีกเลี่ยงการวางพัดลมในลักษณะที่อาจทำให้อากาศที่ปนเปื้อนไหลไปยังบุคคลอื่นโดยตรง

3. สำหรับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย ควรมีเพียงคนเดียว

  • ทำหน้าที่จัดอาหารเครื่องดื่มให้กับผู้ป่วย
  • หากต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย
  • สวมทุกมือ เมื่อต้องสัมผัสกับผู้ป่วย หรือสัมผัสเลือด ของเสีย หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย
  • เมื่อเสร็จแล้วควรทิ้งหน้ากากอนามัย ถุงมือลงในถับขยะ ระบุเป็นขยะติดเชื้อ และรีบ ล้างมือทันที
  • ล้างมือบ่อย ๆ  โดยล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด อย่างน้อย 20 วินาที หากใช้เจลล้างมือ ต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60% ชโลมและทั่วและถูจนกว่าจะแห้ง
  • ใช้ถุงมือ น้ำยาทำความสะอาด และน้ำร้อน ในการล้างจาน หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ของผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูก ปาก หน้า หากยังไม่ได้ล้างมือ
  • เฝ้าสังเกตอาการของผู้ป่วยเป็นประจำ
  • ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ
  • หากผู้ป่วยมีอาการที่มากขึ้น เช่น หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจติดขัด สูญเสียความสามารถในการพูดหรือการเคลื่อนที่ มีอาการเจ็บหน้าอก ควรรีบแจ้งโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

อยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วยโควิด

 

4.การทำความสะอาด สถานที่พักที่มี่ผู้ป่วยโควิด-19 อาศัยอยู่ ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันให้มิดชิด

  • สวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวขายาว
  • ใส่แว่นตา
  • สวมหน้ากากอนามัย
  • สวมผ้าหรือพลาสติกกันเปื้อน
  • สวมถุงมือยาง
  • สวมรองเท้าบูท
  • ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดที่มีด้ามจับ เพื่อความปลอดภัย

น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาด มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด

  • แอลกอฮอล์เข้มข้น 70%
  • น้ำยาซักผ้าขาว หรือโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 0.5% สามารถใช้น้ำยาซักผ้าขาว 1 ขวด 500 มล.(6% โซเดียมไฮโปรคลอไรท์) + น้ำเปล่า 5 ลิตร = โซเดียมไฮโปคลอไรท์ เข้มข้น 0.5%
  • น้ำยาฆ่าเชื้อ มีสารคลอโรไซลีนอล 0.25%
  • น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 1 ขวด 250 มล. (4.8% สารคลอโรไซลีนอล) + น้ำเปล่า 5 ลิตร = สารคลอโรไซลีนอลเข้มข้น 0.25%

การทำความสะอาดพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโควิด-19

  • เปิดประตู หน้าต่างเพื่อระบายอากาศ และให้แดดส่องถึงทั่วภายในบ้านขณะทำความสะอาด
  • ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเช็ดตามบริเวณที่มีการสัมผัสหรือใช้งานร่วมกันบ่อย ๆ ทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วเช็ดออกด้วยน้ำสะอาด
  • กรณีใช้ตู้เย็นร่วมกัน เช็ดที่จับตู้เย็น เปิดตู้เย็นเช็ดทำความสะอาด ทิ้งของที่ผู้ป่วยกินเหลือไว้ และล้างทำความสะอาดขวดน้ำที่ใช้ร่วมกัน
  • ห้องน้ำ ห้องส้วม เน้นเช็ดบริเวณที่รองนั่งโถส้วม ฝาปิดโถส้วม ที่กดชักโครก ราวจับ ลูกบิดหรือกลอนประตู ที่แขวนกระดาษชำระ อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ
  • บริเวณพื้นห้องน้ำ ใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ผสมไว้ ราดทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

5.การจัดการขยะติดเชื้อให้ปลอดภัย

  • แยกขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู่ ฯลฯ ห้ามทิ้งร่วมกับขยะอื่น ๆ เด็ดขาด
  • ใส่น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฟอกผ้าขาวผสมน้ำฉีดพรมในถุงขยะก่อนปิดปากถุง (อย่าลืมสวมถุงมือป้องกัน)
  • ใช้ถุงขยะหนาได้มาตรฐาน ไม่ขาดง่าย
  • ซ้อนถุงขยะ 2 ชั้นปิดปากถุง ให้มิดชิดที่สุด
  • ติดป้ายบนถุงขยะให้ชัดเจนว่า ขยะติดเชื้อ
  • ทำความสะอาดมือทันทีด้วยแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยสบู่

 

จัดการขยะติดเชื้อให้ปลอดภัย

 

6.สำหรับสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้าน ถือเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน (กลุ่มเสี่ยงสูง)

  • กักตัวเพื่อสังเกตอาการ 14 วัน นับจากสัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย
  • ต้องได้รับการเชื้อโควิด-19  ควรตรวจหลังสัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย 7-10 วัน

 

ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
 02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

 

Line