ภาวะหยุดหายใจขณะหลับรักษาหายไหม

วิธีการรักษา ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ?

นพ.วีระพล  กิมศิริ แพทย์ประจำคลินิกหู คอ จมูก รพ.วิชัยเวช ฯ หนองแขม กล่าวว่า ปัจจุบันการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ยังไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยหายขาดได้ แต่การรักษาต้องใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายจะมีภาวะต่าง ๆ ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นแพทย์จะต้องประเมินเป็นรายบุคคล ว่าความรุนแรงเกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจของผู้ป่วยอยู่ระดับไหน รวมถึงมีสาเหตุมาจากอะไร ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาโรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของผู้ป่วยด้วย

อ่านเพิ่มติม ภาวะหยุดหายใจขณะหลับอันตราย

หลังจากประเมินอาการของคนไข้แล้ว คุณหมออาจจะพิจารณาวิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • การใช้เครื่องช่วยหายใจขณะที่ผู้ป่วยนอนหลับตลอดชีวิต
  • การผ่าตัดเสริม
  • การใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ

ยกตัวอย่างเช่น

ในกรณีมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ในระดับที่รุนแรงมาก อาจจะพิจารณาให้การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า CPAP (ซีแพ็บ) เป็นการใส่หน้ากากขณะหลับ เพื่อให้อากาศเข้าไปให้เพียงพอ ในลักษณะที่อัดแรงดันอากาศ ในขณะที่ผู้ป่วยมีภาวะหยุดหายใจ การอัดแรงดันคือการใส่ลม หรือตีลมเข้าไปในช่องคอ หรือโพรงจมูก เพื่อช่วยให้ส่วนที่ตีบแคบ ขณะที่ผู้ป่วยนอนกรน แล้วมีหยุดหายใจนั้นกว้างขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างปกติ ซึ่งจะช่วยให้การกรนหายไป และยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

แต่ในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถใช้เครื่อง CPAP ได้ หรือว่าไม่ได้เป็นโรคระดับรุนแรง อาจจะพิจารณาการรักษาด้วยทางเลือกวิธีอื่น เช่น การใช้อุปกรณ์ในช่องปาก หรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีสาเหตุจากอะไร แตกต่างกันไป เช่น การผ่าตัดจมูก การผ่าตัดทอลซิน การผ่าตัดลิ้นไก่ เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนมาก คุณหมอก็จะแนะนำให้ลดน้ำหนัก พักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอน ตื่นนอนให้ตรงเวลา งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หยุดสูบบุหรี่ และควรต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอครับ

 

ติดต่อคลินิกหู คอ จมูก
02-441-6999

หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

 

Line