ปวดท้อง แน่นท้อง อาจติดเชื้อ H.pylori ตัวการมะเร็งกระเพาะอาหาร

ใครที่มีอาการปวดท้อง แสบท้อง แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ปวดท้องรุนแรง คุณอาจติดเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) หรือที่เรียกว่า เอชไพโลไร ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบในกระเพาะอาหารของมนุษย์ ผู้ที่ติดเชื้อมักเกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แผลในลำไส้ และหากเป็นแผลเรื้อรัง เป็นระยะเวลานาน อาจมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

ติดเชื้อ H.Pylori (เอชไฟโลไร) ได้อย่างไร?

การติดเชื้อเอชไพโลไร เกิดจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าปากแบบไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งสามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้กับทุกเพศทุกวัย

 

H.pyloriตัวการมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

ความรุนแรงของเชื้อ H.Pylori (เอชไพโลไร)

ผู้ติดเชื้อนี้มีความเสียงที่จะพัฒนาเป็นแผลในกระเพาะอาหารถึง 10-20 % โดยมีการอักเสบที่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย และมีโอกาสสูงที่จะเกิดในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงผู้ติดเชื้อนี้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 3 % ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งเยื่อบุกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่กระเพาะอาหาร

จะรู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อ H.Pylori (เอชไพโลไร)

การตรวจหาเชื้อ H. Pylori สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

  • การตรวจผ่านลมหายใจ (Urea Breath Test)

ที่โรงพยาบาลวิชัยเวชฯ หนองแขม เราใช้วิธีการตรวจหาเชื้อทางลมหายใจ หรือ Urea Breath Test เพื่อความรวมเร็วของผู้ป่วย ซึ่งใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาที รวมถึงวิธีนี้ยังให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำสูงถึง 98% ใม่เจ็บ และปลอดภัยสำหรับเด็กและสตรีมีครรภ์อีกด้วย

แพ็กเกจตรวจหาเชื้อ H.Pylori ด้วยวิธีเป่าลมหายใจ

  • ตรวจโดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
  • การตรวจอุจจาระ

ใครบ้างที่ควรตรวจหาเชื้อ H.Pylori (เอชไพโลไร)

  • ผู้ที่มีอาการปวดท้อง หรือจุกแน่น จุกเสียดลิ้นปี่ ปวดท้องรุนแรง เรื้อรัง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน เรอบ่อ
  • ผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้อง อืดท้อง มีลมในท้อง เบื่ออาหาร
  • มีประวัติเป็นแผลในระบบทางเดินอาหาร
  • บุคคลในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

หากติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) สามารถรักษาได้อย่างไร

การติดเชื้อ H. Pylori สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2-3 ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อมากขึ้น โดยหลังจากการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำภายในเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์เพื่อติดตามผลการรักษา หากพบว่ายังมีการติดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะต้องรักษาซ้ำโดยเปลี่ยนยาตามอาการของแต่ละบุคคล เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีการดื้อยาเกิดขึ้น

ป้องกันตัวเองอย่างไร ไม่ให้ติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร)

  • ดูแลสุขอนามัยที่ดี ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำและก่อนจัดเตรียมหรือรับประทานอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่สุกลดการรับประทานอาหารที่มีรสจัด
  • หลีกเลี่ยง หรือเลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์
  • เลิกสูบบุหรี่

 

ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อ ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม
 02-441-6999
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

 

Line